พลตำรวจเอก วาสนา เพิ่มลาภ (เกิด 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484) อดีตประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)[1]

วาสนา เพิ่มลาภ
ประธานกรรมการการเลือกตั้ง
ดำรงตำแหน่ง
22 ธันวาคม พ.ศ. 2545 – 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2549
ก่อนหน้าพลเอก ศิรินทร์ ธูปกล่ำ
ถัดไปอภิชาต สุขัคคานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 (83 ปี)
อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ประเทศไทย

ประวัติ

แก้

วาสนา เพิ่มลาภ เกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 อาศัยอยู่ที่บ้านพักย่านถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโท จากด้านพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การทำงาน

แก้

วาสนา เพิ่มลาภ เคยรับราชการตำรวจโดยมีตำแหน่งเป็นรองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และเป็นผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ต่อมาจึงได้โอนมารับตำแหน่งผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.)

หลังจากนั้นได้เข้ารับตำแหน่งเป็นกรรมการการเลือกตั้ง และเป็นประธานกรรมการการเลือกตั้ง แทน พลเอก ศิรินทร์ ธูปกล่ำ ซึ่งถูกถอดออกจากตำแหน่งเนื่องจากได้รับการสรรหามาผิดวิธีปฏิบัติ ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2545 จนกระทั่งลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 สืบเนื่องจากศาลอาญามีคำพิพากษาให้ตัดสิทธิการเลือกตั้ง

คดีความ

แก้

กรณีจัดการเลือกตั้ง

แก้

ศาลอาญา มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ให้ตัดสิทธิการเลือกตั้ง พล.ต.อ.วาสนา พร้อมกับวีระชัย แนวบุญเนียร และปริญญา นาคฉัตรีย์ เป็นเวลา 10 ปี และให้จำคุกเป็นเวลา 4 ปี ในคดีที่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ฟ้องในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ มีความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งปี 2541 มาตรา 24, 42 ประกอบ ป.อาญามาตรา 83 (ร่วมกันทำผิด)[2] ต่อมาเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2551 ศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น[3] แต่ในวันที่ 13 มิถุนายน 2556 ศาลฎีกาพิพากษากลับ เนื่องจากศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง จึงไม่มีอำนาจในการฟ้อง จึงมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง

ภายหลังต้องคำพิพากษา พล.ต.อ.วาสนา ได้หันไปประกอบอาชีพเกษตรกรรม ที่จังหวัดจันทบุรี[4] บ้านเกิด

กรณีที่ไม่เร่งสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงการว่าจ้างพรรคเล็ก

แก้

ศาลฎีกา มีคำพิพากษาในการที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นโจทย์ยื่นฟ้อง พล.ต.อ.วาสนา นายปริญญา นาคฉัตรีย์ และนายวีระชัย แนวบุญเนียร (เสียชีวิต) ในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และพระราชบัญญัติคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 มาตรา 24 และ 42 กรณีที่ไม่เร่งสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง ข้อร้องเรียนกล่าวหาพรรคไทยรักไทย ว่าจ้างพรรคแผ่นดินไทย และพรรคพัฒนาชาติไทย ลงรับสมัครเลือกตั้งในวันที่ 2 เม.ย. 2549 โดยพลันตามระเบียบ กกต.ว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงและการวินิจฉัย พ.ศ. 2542 มาตรา 37, 48 โดยให้จำคุก 2 ปี[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานกรรมการการเลือกตั้ง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-10-27. สืบค้นเมื่อ 2010-01-07.
  2. "เพิกถอนสิทธิ์ 10 ปี 3 กกต.จบ จำคุกอีกคนละ 4 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2010-09-30.
  3. ศาลอุทธรณ์สั่งคุก 3 หนา 4 ปี ทำชาติแตกแยกใหญ่หลวง![ลิงก์เสีย]
  4. เปิดใจ"วาสนา เพิ่มลาภ"อดีตประธาน กกต. พูดถึง พี่ชวน น้องทักษิณ และชีวิตที่เหมือนอยู่รอวัน....
  5. "คุมตัว "วาสนา-ปริญญา" เข้าเรือนจำ ศาลฎีกายืนจำคุกคนละ 2 ปี ถ่วงคดี ทรท.จ้างพรรคเล็กลงเลือกตั้งปี 49". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-28. สืบค้นเมื่อ 2016-06-21.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๕, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙๙, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
ก่อนหน้า วาสนา เพิ่มลาภ ถัดไป
พลเอก ศิรินทร์ ธูปกล่ำ   ประธานกรรมการการเลือกตั้ง
(22 ธันวาคม พ.ศ. 2545 - 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2549)
  อภิชาต สุขัคคานนท์