ราชวงศ์ถัง
ราชวงศ์ถัง (จีน: 唐朝[a]) หรือ จักรวรรดิถัง เป็นราชวงศ์ของจีนที่ปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 618 ถึง ค.ศ. 907 โดยในช่วงสั้น ๆ ระหว่าง ค.ศ. 690 ถึง ค.ศ. 705 ราชวงศ์อู่โจวได้เข้ามาแทนที่การปกครองของราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ถังสืบเนื่องต่อจากราชวงศ์สุยและสิ้นสุดลงเป็นยุคห้าราชวงศ์และสิบอาณาจักร นักประวัติศาสตร์มักมองว่าราชวงศ์ถังเป็นจุดสูงสุดของอารยธรรมจีน และเป็นยุคทองของวัฒนธรรมสากล[7] ดินแดนของราชวงศ์ถังที่ได้มาจากการต่อสู้ทางทหารในช่วงต้น เทียบได้กับดินแดนของราชวงศ์ฮั่น
ถัง 唐 | |||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||||||||||||||||||||
สถานะ | จักรวรรดิ | ||||||||||||||||||||||||
เมืองหลวง | |||||||||||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | จีนตอนกลาง | ||||||||||||||||||||||||
ศาสนา | |||||||||||||||||||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||||||||||||||||||
จักรพรรดิ | |||||||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 618–626 (พระองค์แรก) | จักรพรรดิถังเกาจู่ | ||||||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 626–649 | จักรพรรดิถังไท่จง | ||||||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 712–756 | จักรพรรดิถังเสฺวียนจง | ||||||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 904–907 (พระองค์สุดท้าย) | จักรพรรดิถังไอ | ||||||||||||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | เอเชียตะวันออกสมัยกลาง | ||||||||||||||||||||||||
• ก่อตั้ง | 18 มิถุนายน ค.ศ. 618 | ||||||||||||||||||||||||
• แทรกโดยราชวงศ์อู่โจว | ค.ศ. 690–705 | ||||||||||||||||||||||||
ค.ศ. 755–763 | |||||||||||||||||||||||||
• การสละราชสมบัติให้แก่ราชวงศ์เหลียง ยุคหลัง | 1 มิถุนายน ค.ศ. 907 | ||||||||||||||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||||||||||||||
ค.ศ. 715[4][5] | 5,400,000 ตารางกิโลเมตร (2,100,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||||||||||
ประชากร | |||||||||||||||||||||||||
• คริสต์ศตวรรษที่ 7 | 50 ล้านคน | ||||||||||||||||||||||||
• คริสต์ศตวรรษที่ 9 | 80 ล้านคน | ||||||||||||||||||||||||
สกุลเงิน | เหรียญเงินสด | ||||||||||||||||||||||||
|
ราชวงศ์ถัง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
"ราชวงศ์ถัง" ในอักษรฮั่น | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาจีน | 唐朝 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | Tángcháo | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ตระกูลหลี่ได้ก่อตั้งราชวงศ์ขึ้นภายหลังราชวงศ์สุยเริ่มเสื่อมลงและล่มสลาย โดยในช่วงครึ่งแรกของราชวงศ์ถังเป็นสมัยแห่งความก้าวหน้าและความมั่นคงเป็นอย่างยิ่ง แต่การปกครองภายใต้ราชวงศ์ถังถูกขัดจังหวะในระหว่าง ค.ศ. 690–705 เมื่อจักรพรรดินีบูเช็กเทียนแย่งชิงราชบัลลังก์ พร้อมทั้งสถาปนาราชวงศ์อู่โจว ทำให้พระองค์กลายเป็นจักรพรรดินีพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีน ต่อมาในช่วงครึ่งหลังภายใต้ราชวงศ์ถัง ได้เกิดกบฏอัน ลู่ชาน (ค.ศ. 755–763) ซึ่งนำไปสู่การเสื่อมลงของอำนาจราชสำนัก ราชวงศ์ถังยังคงใช้ระบบราชการเช่นเดียวกับราชวงศ์สุย โดยการคัดเลือกผ่านการสอบที่เป็นมาตรฐานและการรับรองการขึ้นตำแหน่ง แต่จากการเติบโตขึ้นของแม่ทัพทหารตามภูมิภาคต่าง ๆ หรือ "เจี๋ยตู้ฉื่อ" (節度使) ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เริ่มบ่อนทําลายระบบราชการนี้ ราชสำนักและรัฐบาลกลางเข้าสู่ช่วงเสื่อมอำนาจลงในช่วงครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 9 จากการเกิดกบฏชาวนาที่ส่งผลให้เกิดการสูญเสียและการพลัดถิ่นของประชากรจํานวนมาก ความยากจนที่แพร่กระจายมากขึ้น กอปรกับความขัดแย้งภายในรัฐบาลที่นำไปสู่การสิ้นสุดของราชวงศ์ถังใน ค.ศ. 907
ราชธานีของราชวงศ์ถังอยู่ที่ฉางอาน (ปัจจุบันคือซีอาน) ซึ่งเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยจากการสำรวจสำมะโนประชากรสองครั้งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 สามารถประมาณการได้ว่าจักรวรรดิอาจมีประชากรอยู่ราว 50 ล้านคน[8][9] และเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 80 ล้านคนในช่วงปลายราชวงศ์[10][11][b] ราชวงศ์ถังได้ยกระดับกองทัพมืออาชีพและเกณฑ์ทหารหลายแสนนายเพื่อต่อสู้กับอนารยชน ด้วยความต้องการที่จะควบคุมเอเชียส่วนในและเส้นทางสายไหม ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญ อาณาจักรหรือรัฐห่างไกลจำเป็นต้องถวายเครื่องราชบรรณาการให้แก่ราชสำนักถัง ในขณะที่ราชวงศ์ถังจะเข้าควบคุมทางอ้อมไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ผ่านระบบรัฐบรรณาการ นอกเหนือจากการใช้อำนาจครอบงำทางการเมืองแล้ว ราชวงศ์ถังยังมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมต่ออาณาจักรเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นต้น
วัฒนธรรมจีนเจริญรุ่งเรืองและและเติบโตอย่างถึงขีดสุดในยุคราชวงศ์ถัง โดยถือเป็นยุคทองของกวีนิพนธ์จีน[12] ซึ่งสองกวีที่โดดเด่นที่สุดของจีนอย่าง หลี่ ไป๋ และตู้ ฝู่ ก็ร่วมสมัยกับยุคนี้เช่นกัน ส่วนจิตรกรที่มีชื่อเสียง ได้แก่ หาน ก้าน, จาง สฺเวียน, และโจว ฝ่าง รวมถึงดนตรีราชสำนักจีนก็เฟื่องฟูด้วยเครื่องดนตรีเช่นผีผาที่เป็นที่นิยม นักปราชญ์ในสมัยราชวงศ์ถังได้รวบรวมวรรณคดีประวัติศาสตร์จำนวนมาก เช่นเดียวกับสารานุกรมและผลงานทางภูมิศาสตร์ นวัตกรรมที่โดดเด่นในสมัยนี้ คือ การพัฒนาการพิมพ์แบบแม่พิมพ์ไม้ พระพุทธศาสนาเริ่มมีอิทธิพลอย่างมากในวัฒนธรรมจีน โดยพุทธนิกายพื้นเมืองจีนได้รับความนิยมอย่างโดดเด่น อย่างไรก็ตาม ในทศวรรษ 840 จักรพรรดิถังอู่จงได้ทรงประกาศนโยบายปราบปรามพุทธ ซึ่งนำไปสู่การลดอิทธิพลลงของศาสนาพุทธในเวลาต่อมา
ประวัติศาสตร์
แก้หลี่หยวนตั้งราชวงศ์
แก้ในรัชกาลของจักรพรรดิสุยหยางตี้ (隋煬帝)[13][14] เป็นรัชสมัยแห่งการกดขี่ราษฎรและความพ่ายแพ้ต่ออาณาจักรโคกูรยอของเกาหลีถึงสามครั้งทำให้ผู้คนพากันไม่พอใจรัฐบาลมากขึ้น ในค.ศ. 617 ผู้ว่ามณฑลไท่หยวน (太原) หลี่เยวียน (李淵) ซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็น ถังกว๋อกง (唐國公) ได้ยกทัพเข้าบุกยึดเมืองต้าเหิง (大興城) ราชธานีของราชวงศ์สุย บังคับให้จักรพรรดิหยางตี้สละราชสมบัติขึ้นเป็นไท่ซ่างหวง (太上皇) แล้วตั้งหยางหยู (楊侑) พระราชนัดดาเป็นจักรพรรดิ พระนามว่า จักรพรรดิสุยกงตี้ (隋恭帝) แทน แต่ก็ทรงเป็นเพียงแค่จักรพรรดิหุ่นเชิดอำนาจที่แท้จริงนั้นอยู่ที่หลี่เยวียน ซึ่งได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นถังอ๋อง(唐王) [15][16]
มารดาของหลี่เยวียนนั้น เป็นพระเชษฐภคินีของพระจักรพรรดินีตูกู จักรพรรดินีของจักรพรรดิสุยเหวินตี้ ในค.ศ. 618 หลี่เยวียนได้ล้มเลิกราชวงศ์สุยและตั้งราชวงศ์ถัง ขึ้นครองราชสมบัติเป็นปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ถัง ภายหลังได้รับพระอารามนามว่าจักรพรรดิถังเกาจู่ (唐高祖) คงราชธานีไว้ที่เดิมกับราชวงศ์สุยโดยเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองฉางอัน (長安) รวมทั้งตั้งพระโอรสองค์โตหลี่เจี้ยนเฉิง (李建成) เป็นองค์ชายรัชทายาท และพระโอรสองค์รองหลี่ซื่อหมิน (李世民) เป็นฉินอ๋อง (秦王) พระโอรสองค์ที่สาม หลี่หยวนจี๋ (李元吉) เป็นฉีอ๋อง (齊王) จักรพรรดิถังเกาจู พระโอรสทั้งสองพระองค์และพระธิดาองค์หญิงผิงหยาง (平陽公主) ได้ทำการสู้รบปราบชุมนุมต่าง ๆ ที่ตั้งตนเป็นใหญ่จนสามารถรวมจักรวรรดิจีนได้
หลี่ซื่อหมินมีพระปรีชาสามารถปราบปรามผู้นำท้องถิ่นต่าง ๆ สร้างผลงานไว้มาก เมื่อสิ้นสุดสงครามแล้วจึงเกิดการแย่งราชสมบัติระหว่างหลี่ซื่อหมินกับรัชทายาทหลี่เจี้ยนเฉิง ในค.ศ. 626 ในเหตุการณ์ประตูเสฺวียนอู่ (玄武門) หลี่ซื่อหมินปลงพระชนม์องค์ชายรัชทายาทและพระอนุชา (หลี่เอวี๋ยนจี๋) จากเหตุการณ์ดังกล่าวจักรพรรดิเกาจง จึงแต่งตั้งหลี่ซื่อหมินเป็นรัชทายาท และในเวลาต่อมาจึงสละราชสมบัติให้พระโอรสหลี่ซื่อหมิน ขึ้นเป็นจักรพรรดิถังไท่จง (唐太宗)
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การขยายอำนาจของอาณาจักรถัง
แก้ทิศเหนือ รบชนะพวกเติร์กมีอำนาจเหนือมองโกเลีย
ทิศตะวันออก มีอำนาจเหนือคาบสมุทรเกาหลี
ทิศตะวันตก รบชนะพวกอุยกูร์(อุ้ยเก้อ)มีอำนาจเหนือซินเจียง,ทุ่งหญ้าสเตปป์,ทะเลสาบแคสเปียน
สถาปัตยกรรม
แก้สมัยราชวงศ์ถัง เป็นช่วงที่เศรษฐกิจและวัฒนธรรมในสังคมศักดินาพัฒนาเร็วที่สุด ลักษณะพิเศษของสถาปัตยกรรมสมัยราชวงศ์ถังคือมีขนาดใหญ่โต มีระบบระเบียบ ใช้สีไม่ค่อยมากแต่มีลายชัดเจน ในเมืองฉางอันเมืองหลวงสมัยราชวงศ์ถัง (เมืองซีอานในปัจจุบัน) และเมืองลั่วหยางเมืองหลวงทางตะวันออกของราชวงศ์ถังต่างก็เคยสร้างวังหลวงอุทยานและที่ทำการเป็นจำนวนมาก เมืองฉางอันเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของโลกในสมัยนั้น วังต้าหมิงในเมืองฉางอันใหญ่มาก เขตซากของวังนี้กว้างกว่ายอดจำนวนพื้นที่วังต้องห้ามสมัยหมิงและชิงในกรุงปักกิ่ง 3 เท่ากว่า ๆ สถาปัตยกรรมที่สร้างด้วยไม้ในสมัยราชวงศ์ถังสวยมาก วิหารประธานในวัดโฝกวางเขต อู่ไถซาน มณฑลซานซี ก็คือสถาปัตยกรรมสมัยราชวงศ์ถังที่เป็นแบบฉบับ นอกจากนี้สถาปัตยกรรมที่สร้างด้วยอิฐและก้อนหินในสมัยราชวงศ์ถังก็ได้รับ การพัฒนาอีกขั้นหนึ่ง เจดีย์ห่านใหญ่ เจดีย์ห่านเล็กในเมืองซีอานและเจดีย์เชียนสุน ในเมืองต้าหลี่ต่างก็เป็นเจดีย์ที่สร้างด้วยอิฐและก้อนหิน
วัฒนธรรม
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บันเทิงคดี
แก้- มังกรราชวงศ์ถัง
- มังกรคู่สู้สิบทิศ
- วานรเทพสะท้านฟ้า
- บันทึกปิ่น
- ลำนำรักแห่งฉางอัน
- ตำนานอู่เม่ยเนียง
- สตรีหาญฉางเกอ
- ศึกชิงบัลลังก์ราชวงศ์ถัง
- ศึกบุปผาวังมังกร 1-2
- ฉางอัน 12 ชั่วยาม
- ลำนำรักเคียงบัลลังก์
หนังสือการ์ตูน
แก้- ฉางเกอสิง
วรรณกรรม
แก้ศาสนาและปรัชญา
แก้ในสมัยราชวงศ์ถัง พระภิกษุเสวียนจ้าง ได้เดินทางไปยังชมพูทวีป (อินเดียในปัจจุบัน) โดยใช้เส้นทางสายไหม ไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่มหาวิทยาลัยนาลันทา เป็นเวลา 14 ปี ซึ่งหลังจากเดินทางกลับมาประเทศจีนแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดห่านป่าใหญ่(大雁塔)ที่เมืองฉางอาน ท่านได้แปลพระไตรปิฎกจากภาษาบาลีมาเป็นภาษาจีน ซึ่งเรื่องราวการเดินทางไปชมพูทวีปของพระภิกษุเสวียนจ้าง ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิง หวู เฉิง เอิน กวีผู้เลื่องชื่อ ได้นำเรื่องราวนี้มาเขียนเป็นนิยายเรื่อง "ไซอิ๋ว" ในเวลาต่อมา ซึ่งถึอเป็น1ใน4สุดยอดนวนิยายอมตะของจีน โดยตัวละครในเรื่องไซอิ๋วนั้น เสวียนจ้างก็คือ "พระถังซัมจั๋ง" นั่นเอง
สิ่งประดิษฐ์
แก้ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Blunden & Elvin (1983), pp. 26, 92–93.
- ↑ Twitchett & Wechsler (1979), p. 281.
- ↑ Shin (2014), pp. 39, 47.
- ↑ Turchin, Peter; Adams, Jonathan M.; Hall, Thomas D (December 2006). "East-West Orientation of Historical Empires". Journal of World-Systems Research. 12 (2): 222. ISSN 1076-156X.
- ↑ Taagepera, Rein (1997). "Expansion and Contraction Patterns of Large Polities: Context for Russia". International Studies Quarterly. 41 (3): 492. doi:10.1111/0020-8833.00053. ISSN 0020-8833. JSTOR 2600793.
- ↑ Wilkinson 2013, p. 6.
- ↑ Lewis 2012, p. 1.
- ↑ Ebrey, Walthall & Palais 2006, p. 91.
- ↑ Ebrey 1999, pp. 111, 141.
- ↑ Du 1998, p. 37.
- ↑ Fairbank & Goldman 2006, p. 106.
- ↑ Yu 1998, pp. 73–87.
- ↑ Ebrey, Walthall & Palais 2006, pp. 90–91.
- ↑ Adshead 2004, pp. 40–41.
- ↑ Adshead 2004, p. 40.
- ↑ Graff 2000, p. 78.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ราชวงศ์ถัง เก็บถาวร 2010-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน พิพิธภัณฑ์ออนไลน์ที่มหาวิทยาลัยมินเนโซตาสเตท (อังกฤษ)
- ราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618–907) เก็บถาวร 2012-12-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | ราชวงศ์ถัง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ราชวงศ์สุย | ราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีน (ค.ศ. 618–907) |
ยุคห้าวงศ์สิบรัฐ |