รัฐบาลพลัดถิ่น (อังกฤษ: government in exile) เป็นกลุ่มการเมืองซึ่งอ้างตัวเป็นรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐเอกราชรัฐหนึ่ง แต่ไม่อาจใช้อำนาจตามกฎหมายในรัฐนั้น และจำต้องพำนักอยู่นอกรัฐดังกล่าว[1] รัฐบาลพลัดถิ่นมักคาดหวังว่า วันหนึ่งจะได้กลับคืนบ้านเมืองและครองอำนาจอย่างเป็นทางการอีกครั้ง รัฐบาลพลัดถิ่นต่างจากรัฐตกค้าง (rump state) ตรงที่รัฐตกค้างยังสามารถควบคุมส่วนหนึ่งส่วนใดในดินแดนเดิมได้อยู่[2] เช่น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แม้จักรวรรดิเยอรมันเข้ายึดครองประเทศเบลเยียมได้เกือบทั้งประเทศ แต่ประเทศเบลเยียมและพันธมิตรยังครองภาคตะวันตกซึ่งเป็นส่วนน้อยของประเทศได้อยู่ จึงชื่อว่าเป็นรัฐตกค้าง ถ้าเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นจะตรงกันข้าม คือ ไม่สามารถครอบครองดินแดนไว้ได้เลย

รัฐบาลพลัดถิ่นมักมีขึ้นในช่วงการรบซึ่งดินแดนถูกยึดครองไป หรือมักเป็นผลมาจากสงครามกลางเมือง การปฏิวัติ หรือรัฐประหาร เช่น ระหว่างที่เยอรมนีขยายดินแดนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลยุโรปหลายชาติได้เข้าลี้ภัยในสหราชอาณาจักรเพื่อไม่ตกอยู่ในกำมือพวกนาซี รัฐบาลพลัดถิ่นยังอาจจัดตั้งขึ้นเนื่องจากเชื่อถือกันอย่างกว้างขวางว่า รัฐบาลซึ่งกำลังผ่านบ้านครองเมืองอยู่นั้นขาดความชอบธรรม เช่น หลังเกิดสงครามกลางเมืองซีเรีย พันธมิตรกองทัพปฏิวัติและฝ่ายค้านซีเรียแห่งชาติ (National Coalition for Syrian Revolutionary and Opposition Forces) ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยมุ่งหมายจะล้มล้างการปกครองของพรรคบะอัธ (Ba'ath Party) ซึ่งกำลังอยู่ในอำนาจ

รัฐบาลพลัดถิ่นจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ เบื้องต้นขึ้นอยู่กับว่า ได้รับการสนับสนุนมากหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนจากรัฐบาลต่างชาติหรือจากพลเมืองประเทศตนเอง รัฐบาลพลัดถิ่นบางชุดกลายเป็นกองกำลังอันน่าเกรงขาม เพราะสามารถท้าทายผู้ปกครองประเทศนั้น ๆ ได้อย่างฉกาจฉกรรจ์ ขณะที่รัฐบาลพลัดถิ่นอื่น ๆ ส่วนใหญ่มักมีสถานะเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น

ปรากฏการณ์รัฐบาลพลัดถิ่นมีมาก่อนคำว่า "รัฐบาลพลัดถิ่น" จะได้รับการใช้จริง ในยุคกษัตริย์ พระเจ้าแผ่นดินหรือราชวงศ์ที่ถูกอัปเปหิเคยตั้งราชสำนักพลัดถิ่น เช่น ราชวงศ์สจวร์ตซึ่งถูกโอลิเวอร์ ครอมเวล (Oliver Cromwell) ถอดจากบัลลังก์ ก็ไปตั้งราชสำนักพลัดถิ่น และราชวงศ์บูร์บง (House of Bourbon) ก็ทำเช่นเดียวกันในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศสและช่วงนโปเลียน (Napoleon) เถลิงอำนาจ ครั้นเมื่อระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญแพร่หลายขึ้น รัฐบาลกษัตริย์พลัดถิ่นก็เริ่มมีนายกรัฐมนตรีด้วยเหมือนกัน เช่น รัฐบาลพลัดถิ่นเนเธอร์แลนด์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองตั้ง Pieter Sjoerds Gerbrandy เป็นนายกรัฐมนตรี

รัฐบาลพลัดถิ่นในปัจจุบัน

แก้

รัฐบาลชุดปัจจุบันที่มองว่าเป็น "รัฐบาลพลัดถิ่น"

แก้

รัฐบาลเหล่านี้เคยควบคุมดินแดนที่อ้างสิทธิ์ทั้งหมดหรือส่วนใหญ่ แต่ยังคงควบคุมส่วนเล็ก ๆ ต่อไป และยังคงเรียกร้องอำนาจที่ถูกต้องตามกฎหมายของดินแดนทั้งหมดที่พวกเขาเคยควบคุมอย่างเต็มที่

ชื่อ พลัดถิ่น ดินแดนที่รัฐบาลยังคงควบคุมอยู่ การควบคุมดินแดนที่อ้างสิทธิ์ในปัจจุบัน อ้างอิง
  สาธารณรัฐจีน 1949 ไต้หวันและหมู่เกาะใกล้เคียง   สาธารณรัฐประชาชนจีน
  สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี 1976 ส่วนตะวันออกเฉียงใต้ของชาฮาราตะวันตก   โมร็อกโก

รัฐบาลที่ถูกขับไล่ของรัฐปัจจุบัน

แก้

รัฐบาลพลัดถิ่นเหล่านี้ก่อตั้งโดยรัฐบาลที่ถูกปลด ซึ่งยังคงอ้างสิทธิ์โดยชอบธรรมของรัฐที่เคยควบคุม

ชื่อ พลัดถิ่นตั้งแต่ รัฐที่ควบคุมดินแดนที่อ้างสิทธิ์ อ้างอิง
  สาธารณรัฐประชาธิปไตยเบลารุส 1919   สาธารณรัฐเบลารุส [3][4]
  สภาผู้นำประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเยเมน 2015   สาธารณรัฐเยเมน (สภาการเมืองสูงสุด) [5]
  รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติเมียนมา 2021   สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (สภาบริหารแห่งรัฐ) [6][7][8]

รัฐบาลที่ถูกขับไล่ของรัฐในอดีต

แก้

รัฐบาลพลัดถิ่นเหล่านี้ก่อตั้งโดยรัฐบาลที่ถูกปลด ซึ่งยังคงอ้างอำนาจโดยชอบธรรมของรัฐที่พวกเขาเคยควบคุมแต่รัฐนี้ไม่มีอยู่แล้ว

ชื่อ พลัดถิ่น การควบคุมดินแดนที่อ้างสิทธิ์ในปัจจุบัน อ้างอิง
ตั้งแต่ ในฐานะ โดย ในฐานะ
  สาธารณรัฐมาลูกูใต้ 1966 รัฐเอกราช   สาธารณรัฐอินโดนีเซีย จังหวัดมาลูกู [9]

ขับไล่รัฐบาลของดินแดนส่วนภูมิภาค

แก้

รัฐบาลพลัดถิ่นเหล่านี้อ้างสิทธิ์ในดินแดนปกครองตนเองของรัฐอื่นอย่างชอบธรรม และก่อตั้งโดยรัฐบาลหรือผู้ปกครองที่ถูกขับไล่ ซึ่งไม่ได้อ้างเอกราชเป็นรัฐเอกเทศ

ชื่อ พลัดถิ่น การควบคุมดินแดนที่อ้างสิทธิ์ในปัจจุบัน อ้างอิง
ตั้งแต่ ในฐานะ โดย ในฐานะ
   รัฐบาลสาธารณรัฐปกครองตนเองอับคาเซีย 1993 สาธารณรัฐปกครองตนเอง   สาธารณรัฐอับคาเซีย รัฐอิสระโดยพฤตินัย
   การบริหารชั่วคราวของเซาท์ออสซีเชีย 2008 การบริหารชั่วคราว   สาธารณรัฐเซาท์ออสซีเชีย
   สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย 2014 สาธารณรัฐปกครองตนเอง   รัสเซีย สาธารณรัฐไครเมีย
   เซวัสโตปอล เมืองพิเศษ นครสหพันธ์
   แคว้นลูฮันสก์ 2022 แคว้น สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์

รัฐบาลทางเลือกของรัฐปัจจุบัน

แก้

รัฐบาลเหล่านี้ก่อตั้งขึ้นโดยพลัดถิ่นโดยองค์กรการเมือง และพรรคฝ่ายค้าน ปรารถนาที่จะเป็นผู้มีอำนาจปกครองจริงหรืออ้างว่าเป็นผู้สืบทอดทางกฎหมายต่อรัฐบาลที่ถูกปลดก่อนหน้านี้ และได้รับการก่อตั้งเป็นทางเลือกแทนรัฐบาลที่ดำรงตำแหน่ง

ชื่อ อ้างสิทธิ์พลัดถิ่น การแถลงพลัดถิ่น รัฐบาลควบคุมดินแดนที่อ้างสิทธิ์ อ้างอิง
  คณะกรรมการ 5 จังหวัดภาคเหนือเกาหลี 1949   เกาหลีเหนือ [10]
  คณะผู้แทนของมณฑลไต้หวัน, สภาประชาชนแห่งชาติ/CPPCC   สาธารณรัฐจีน
  รัฐบาลราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่น 1975 2003   สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
  สภาแห่งชาติอิหร่าน 1979 2013   สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
  สภาต่อต้านแห่งชาติของอิหร่าน 1981 [11]
  สาธารณรัฐเวียดนามที่สาม 1990 1991   สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
  พรรคก้าวหน้าของอิเควทอเรียลกินี 2003   สาธารณรัฐอิเควทอเรียลกินี [12]
  สภาแห่งชาติซีเรีย 2011   สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย [13]
  รัฐบาลชั่วคราวซีเรีย 2012
  สภาประสานงาน
คณะรัฐมนตรีเฉพาะกาล
2020   สาธารณรัฐเบลารุส
  ราชอาณาจักรอัฟกานิสถาน 2014 [14]
  เอมิเรตอิสลามอัฟกานิสถาน (พันธมิตรปัญจชีร์) 2021   เอมิเรตอิสลามอัฟกานิสถาน (ตอลิบาน) [15][16]
  สมัชชาใหญ่ผู้แทนประชาชน 2022   สหพันธรัฐรัสเซีย [17]

รัฐบาลทางเลือกแบ่งแยกดินแดนของดินแดนย่อยในปัจจุบัน

แก้

รัฐบาลเหล่านี้ถูกก่อตั้งโดยกลุ่มการเมือง พรรคฝ่ายค้าน และขบวนการแบ่งแยกดินแดน และปรารถนาที่จะเป็นผู้มีอำนาจปกครองดินแดนของตนในฐานะรัฐเอกราช หรืออ้างว่าเป็นผู้สืบทอดรัฐบาลที่ถูกขับไล่ไปก่อนหน้านี้ รัฐบาลที่ดำรงตำแหน่งอยู่

ชื่อ อ้างสิทธิ์พลัดถิ่น การแถลงพลัดถิ่น รัฐบาลควบคุมดินแดนที่อ้างสิทธิ์ อ้างอิง
  เสรีนครของรัฐบาลพลัดถิ่นดันท์ซิช 1939 1947   สาธารณรัฐโปแลนด์ [18][19][20]
  ขบวนการปลดแอกแห่งปาปัวตะวันตก 1963 1969   สาธารณรัฐอินโดนีเซีย [21][22]
  รัฐบาลบิอาฟราพลัดถิ่น 1970 2007   สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย [23]
  สาธารณรัฐเคบินดา 1975   สาธารณรัฐแองโกลา
  รัฐบาลตาตาร์พลัดถิ่น 1994   รัสเซีย [24]
  สาธารณรัฐเชเชนแห่งอิชเคเรีย 2000 [25][26][27][28]
  รัฐบาลเตอร์กิสถานตะวันออกพลัดถิ่น 1949 2004   สาธารณรัฐประชาชนจีน [29]
  ฝ่ายบริหารกลางทิเบต 1959 2011 [30][31]
  สาธารณรัฐอัมบาโซเนีย 1999   สาธารณรัฐแคเมอรูน [32]
  รัฐบาลเคอร์ดิสถานตะวันตกพลัดถิ่น 2004   สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย [33]
  รัฐบาลข้ามชาติแห่งทมิฬอีฬัม 2009 2010   ศรีลังกา [34]
  รัฐบาลเฉพาะกาลกาไบล 2010   แอลจีเรีย [35]
  สภาเพื่อสาธารณรัฐ 2017   สเปน
  รัฐบาลแห่งรัฐอิสลามมลายูปัตตานีพลัดถิ่น 2014   ไทย [36]

รัฐบาลพลัดถิ่นที่ไม่ได้ปกครองตนเองหรือดินแดนที่ถูกยึดครอง

แก้

รัฐบาลพลัดถิ่นเหล่านี้เป็นรัฐบาลของดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองหรือยึดครอง พวกเขาอ้างอำนาจโดยชอบธรรมเหนือดินแดนที่พวกเขาเคยควบคุม หรืออ้างความชอบธรรมของอำนาจหลังการปลดปล่อยอาณานิคม การอ้างสิทธิ์อาจเกิดขึ้นจากการเลือกตั้งของกลุ่มที่ถูกเนรเทศให้เป็นรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมาย

องค์การสหประชาชาติรับรองสิทธิในการกำหนดอนาคตตนเองของประชากรในดินแดนเหล่านี้ รวมถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งรัฐอธิปไตยที่เป็นอิสระ

อ้างอิง

แก้
  1. "Princeton University WordNet". Wordnetweb.princeton.edu. สืบค้นเมื่อ 2012-09-20.
  2. Tir, J. , 2005-02-22 "Keeping the Peace After Secessions: Territorial Conflicts Between Rump and Secessionist States" Paper presented at the annual meeting of the International Studies Association, Hilton Hawaiian Village, Honolulu, Hawaii Online <.PDF>. 2009-05-25 from allacademic.com เก็บถาวร 2012-07-21 ที่ archive.today
  3. "Official website of the Belarusian National Republic". Radabnr.org. สืบค้นเมื่อ 28 May 2021.
  4. Wilson, Andrew (2011). Belarus: The Last European Dictatorship. Yale University Press. p. 96. ISBN 9780300134353. สืบค้นเมื่อ 8 May 2013.
  5. Profile, bbc.co.uk; accessed 6 April 2015.
  6. Profile, abcnews.go.com; accessed 31 March 2021.
  7. "Opponents of Myanmar coup form unity government, aim for 'federal democracy'". Reuters. 16 April 2021. สืบค้นเมื่อ 18 April 2021.
  8. "Who's Who in Myanmar's National Unity Government". The Irrawaddy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 16 April 2021. สืบค้นเมื่อ 18 April 2021.
  9. Widjojo, Muridan S. "Cross-Cultural Alliance-Making and Local Resistance in the Moluccas during the Revolt of Prince Nuku, c. 1780–1810" PhD Dissertation, Leiden University, 2007 (Publisher: KITLV, Journal of Indonesian Social Sciences and Humanities Vol. 1, 2008) Pp. 141–149 ISSN 1979-8431
  10. "South Korea's Governors-in-Theory for North Korea". The Wall Street Journal. 18 March 2014. สืบค้นเมื่อ 29 April 2014.
  11. "National Council of Resistance of Iran". ncr-iran.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2010. สืบค้นเมื่อ 20 September 2012.
  12. "Timeline: Equatorial Guinea". BBC News. 14 April 2010. สืบค้นเมื่อ 4 May 2010.
  13. "Mission statement". syriancouncil.org. 25 November 2011. สืบค้นเมื่อ 20 September 2012.
  14. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-26. สืบค้นเมื่อ 2023-02-04.
  15. [1], newsweek.com; accessed 17 August 2021.
  16. [2], digitaljournal.com; accessed 18 August 2021
  17. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-06. สืบค้นเมื่อ 2023-02-04.
  18. "Official website of the Government in exile of the Free City of Danzig". danzigfreestate.org. สืบค้นเมื่อ 8 May 2013.
  19. Capps, Patrick; Evans, Malcolm David (2003). Asserting Jurisdiction: International and European Legal Approaches', edited by Patrick Capps, Malcolm Evans and Stratos Konstadinidis, which mentions Danzig on page 25 and has a footnote directly referencing the Danzig Government in exile website in a footnote also on page 25. ISBN 9781841133058. สืบค้นเมื่อ 8 May 2013.
  20. "Sydney Morning Herald, November 15th, 1947". สืบค้นเมื่อ 8 May 2013.
  21. Saha, Santosh C. (2006). Perspectives on Contemporary Ethnic Conflict. Lexington Books. p. 63. ISBN 9780739110850. สืบค้นเมื่อ 20 May 2011.
  22. Minahan, James (2002). Encyclopedia of the Stateless Nations: S-Z. Westport, Connecticut: Greenwood Publishing Group. p. 2055. ISBN 978-0-313-32384-3. สืบค้นเมื่อ 20 May 2011.
  23. "Biafraland". Biafraland. สืบค้นเมื่อ 20 September 2012.
  24. Paul Goble (5 November 2019). "Tatar government in exile calls on Tatars not to serve in Russian army". Kyiv Post. สืบค้นเมื่อ 11 February 2020.
  25. Huseyn Aliyev (24 February 2011). "Peace-Building From The Bottom: A Case Study Of The North Caucasus". Eurasia Review. สืบค้นเมื่อ 10 May 2011.
  26. "Ukraine recognizes the Chechen Republic of Ichkeria". news.yahoo.com.
  27. "Ukraine recognizes the Chechen Republic of Ichkeria". english.nv.ua.
  28. "Ukraine's parliament recognizes Chechen Republic of Ichkeria as temporarily occupied by Russia". The Kyiv Independent. 2022-10-18.
  29. "East Turkistan Government-in-Exile". East Turkistan Government-in-Exile. สืบค้นเมื่อ 15 December 2019.
  30. "Tibet.net". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2011.
  31. "Religions - Buddhism: Dalai Lama". BBC. สืบค้นเมื่อ 20 September 2012.
  32. "Southerncameroonsig.typepad.com". Southerncameroonsig.typepad.com. 20 August 2012. สืบค้นเมื่อ 20 September 2012.
  33. "KNC.org.uk" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 July 2011.
  34. "The Transnational Government of Tamil Eelam". Tgte-us.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2012. สืบค้นเมื่อ 20 September 2012.
  35. Tilmatine, Mohand. "La construction d'un mouvement national identitaire kabyle: du local au transnational". p. 28.[ลิงก์เสีย]
  36. https://patanigovtinexile.wordpress.com/