รอตเทอร์ดาม
รอตเทอร์ดาม (อังกฤษและดัตช์: Rotterdam[a]) เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ในจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์บริเวณปากแม่น้ำเมิซไหลลงสู่ทะเลเหนือ มีประวัติศาสตร์ย้อนกลับไปถึง ค.ศ. 1270 เมื่อมีการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำรอตเทอร์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1340 ยกฐานะเป็นเมืองในเคานต์แห่งฮอลแลนด์[5] ปัจจุบัน มหานครรอตเทอร์ดาม-เดอะเฮกเป็นบริเวณที่มีประชากร 2.7 ล้านคนใหญ่เป็นอันดับ 13 ของสหภาพยุโรป และเป็นเขตมหานครที่มีประชากรมากที่สุดในเนเธอร์แลนด์
รอตเทอร์ดาม | |
---|---|
จากบนลงล่าง และจากซ้ายไปขวา: รอตเทอร์ดามในตอนพลบค่ำ โบสถ์ลูเรนสเคิร์ก, รูปปั้นนครที่ถูกทำลาย, ยูโรมาสต์, บ้านทรงลูกบาศก์, เดกิป; สนามกีฬาไฟเยอโนร์ด, ศาลากลางเมืองรอตเทอร์ดาม, บ้านเชกอีลันด์, โรงแรมนิวยอร์ก, ใจกลางเมืองทางประวัติศาสตร์แห่งเดลฟ์ฮาเวน, ท่าเรือรอตเทอร์ดาม | |
สมญา: Rotown, Roffa, Rotjeknor, Nultien, 010 | |
คำขวัญ: Sterker door strijd (Stronger through struggle) | |
ที่ตั้งของรอตเทอร์ดามในประเทศเนเธอร์แลนด์ | |
พิกัด: 51°55′N 4°30′E / 51.917°N 4.500°E | |
ประเทศ | เนเธอร์แลนด์ |
จังหวัด | จังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ |
เขต | |
การปกครอง[1] | |
• องค์กร | สภาเทศบาล |
• นายกเทศมนตรี | อาเมดท์ อาบัลทาร์เบต (PvdA) |
• อัลดอร์มัน | List
|
พื้นที่[2][3] | |
• เทศบาล | 325.79 ตร.กม. (125.79 ตร.ไมล์) |
• พื้นดิน | 208.80 ตร.กม. (80.62 ตร.ไมล์) |
• พื้นน้ำ | 116.99 ตร.กม. (45.17 ตร.ไมล์) |
• รันด์สตัด | 3,043 ตร.กม. (1,175 ตร.ไมล์) |
ความสูง[4] | 0 เมตร (0 ฟุต) |
ประชากร | |
• เทศบาล | 651,157 คน |
• เขตเมือง | 1,015,215 คน |
• รวมปริมณฑล | 1,181,284 คน |
• รันด์สตัด | 8,366,078 |
เดมะนิม | Rotterdammer |
เขตเวลา | UTC+1 (CET) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+2 (CEST) |
Postcode | 3000–3099 |
Area code | 010 |
เว็บไซต์ | www |
รอตเทอร์ดามเป็นที่ตั้งของท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป จึงเป็นศูนย์กลางการขนส่งและทางเศรษฐกิจที่สำคัญแห่งหนึ่ง มีประชากร 651,446 คนในปี ค.ศ. 2020[6] เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยอีราสมุส (Erasmus University Rotterdam) ซึ่งมีชื่อเสียงทางด้านเศรษฐศาสตร์ และสถาบันสถาปัตยกรรมแห่งเนเธอร์แลนด์ (Netherland Architecture institute - NAi) เป็นมหานครริมน้ำ เมืองหลวงทางวัฒนธรรม มีมรดกทางการเดินสมุทร และมีสถาปัตยกรรมยุคใหม่ตั้งอยู่มากมาย รอตเทอร์ดามได้รับความเสียหายอย่างหนักจากสงครามโลกครั้งที่สอง จึงได้มีการสร้างบูรณะสร้างอาคารใหม่รวมถึงตึกระฟ้าจำนวนมากมาย จนในปี ค.ศ. 2007 ได้รับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็น "เมืองแห่งสถาปัตยกรรม" [7]
จากการที่ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำไรน์ แม่น้ำเมิซ และแม่น้ำสเกลต์ รอตเทอร์ดามจึงเป็นจุดเริ่มต้นสู่การคมนาคมทางเรือสู่ภูมิภาคอื่นของยุโรปตะวันตก รวมถึงเขตอุตสาหกรรมรูห์ในประเทศเยอรมนี มีโครงข่ายระบบราง ถนน คลองเชื่อมจนรอตเทอร์ดามได้รับฉายาว่า ประตูสู่ยุโรป[8]
ประวัติศาสตร์
แก้บริเวณปากแม่น้ำรอตเทอ เป็นที่ลุ่มที่เป็นดินโคลน มีการตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ราว ค.ศ. 900 ต่อมาเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1150 นำไปสู่การสร้างคันดินและเขื่อนกั้นบริเวณฝั่งเหนือของคลองนิวมาสในปัจจุบัน เขื่อนกั้นแม่น้ำรอตเทอนี้แล้วเสร็จราวๆ ปี ค.ศ. 1270 ตั้งอยู่บริเวณถนนโฮกสตราตในปัจจุบัน และเป็นที่มาของชื่อ รอตเทอร์ดาม
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1340 เคาน์วิลเลิมที่ 4 แห่งฮอลแลนด์ยกระดับรอตเทอร์ดามขึ้นเป็นเมืองซึ่งขณะนั้นมีประชากรอยู่ไม่กี่พันคน ต่อมาในปี ค.ศ. 1350 มีการสร้างคลองรอตเตอร์ดัมเซอสคีขึ้น อำนวยความสะดวกในการคมนาคมทางน้ำไปสู่เมืองใหญ่อื่นๆทางตอนเหนือ ทำให้รอตเทอร์ดามค่อยๆ กลายเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าจากเนเธอร์แลนด์ไปสู่อังกฤษและเยอรมนี[9] เติบโตขึ้นมาเป็นเมืองขนาดใหญ่ขึ้น ท่าเรือค่อยๆ มีความสำคัญจนมาเป็นหนึ่งในหกท่าเรือสำคัญในการค้ากับดินแดนอาณานิคมของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ในช่วงยุคทองของเนเธอร์แลนด์
แต่สิ่งที่ทำให้รอตเทอร์ดามพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วคือการสร้างเส้นทางชลประทานใหม่คือ นิววาเตอร์เวก แล้วเสร็จในปี ค.ศ. 1872 ท่าเรือของรอตเทอร์ดามขยับขยายใหญ่ขึ้น มีการสร้างวิตเตอเฮาส์ หรืออาคารบ้านสีขาว[10] ในแบบปราสาทฝรั่งเศสโดยได้รับแรงบันดาลใจจากตึกระฟ้าในสหรัฐอเมริกา อาคารแห่งนี้กลายเป็นอาคารสำนักงานที่สูงที่สุดในยุโรปด้วยความสูง 45 เมตร เป็นเครื่องบ่งชี้การพัฒนาอย่างรวดเร็วของรอตเทอร์ดาม
ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เนเธอร์แลนด์ดำเนินนโยบายเป็นกลาง รอตเทอร์ดามกลายเป็นจุดที่มีการสืบราชการลับสำคัญของอังกฤษและเยอรมนี เนื่องจากทำเลที่ตั้งที่อยู่ระหว่างกลางระหว่างสองประเทศจึงมีสายลับอยู่เป็นจำนวนมาก ในช่วงนี้ ผู้ลี้ภัยอพยพมาจากประเทศเบลเยียมเป็นจำนวนถึง 25,000 คนเพราะในขณะนั้นตกอยู่ภายใต้การยึดครองของเยอรมนี[11]
ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นาซีเยอรมนีเข้ายึดครองเนเธอร์แลนด์เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1940[12] เกิดการสู้รบอย่างหนักจนกองทัพเนเธอร์แลนด์ยอมจำนนในอีก 5 วันต่อมา ผลจากการสู้รบคือรอตเทอร์ดามได้รับความเสียหายอย่างหนักโดยเฉพาะจากปฏิบัติการรอตเทอร์ดามบลิทซ์ กองทัพอากาศเยอรมันโจมตีใจกลางเมือง พลเรือนกว่า 80,000 คนไร้ที่อยู่อาศัยและกว่า 900 คนต้องสังเวยชีวิต[13] รอตเทอร์ดามถูกปลดแอกโดยกองทัพสัมพันธมิตรในปี ค.ศ. 1945 ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดไม่นาน
จากนั้นในทศวรรษที่ 1950 ถึง 1970 มีการสร้างเมืองขึ้นมาใหม่อีกครั้งแต่อาคารยังมีลักษณะไม่สูงมากนัก จนกระทั่งในทศวรรษที่ 1980 สภาเมืองอนุมัติให้มีการพัฒนาสถาปัตยกรรมแบบใหม่ จึงเกิดอพาร์ทเมนต์ อาคารสำนักงาน และสิ่งก่อสร้างรูปแบบใหม่รูปร่างแปลกตาและสูงใหญ่ เกิดการพัฒนาย่านธุรกิจโกปฟันเซาด์ขึ้นทางฝั่งใต้ของแม่น้ำในทศวรรษ 1990 และอาคารสมัยใหม่ถูกสร้างขึ้นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "College van b en w" [Board of mayor and aldermen] (ภาษาดัตช์). Gemeente Rotterdam. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2015. สืบค้นเมื่อ 10 December 2014.
- ↑ "Kerncijfers wijken en buurten" [Key figures for neighbourhoods]. CBS Statline (ภาษาดัตช์). CBS. 2 July 2013. สืบค้นเมื่อ 12 March 2014.
- ↑ Anita Bouman–Eijs; Thijmen van Bree; Wouter Jonkhoff; Olaf Koops; Walter Manshanden; Elmer Rietveld (17 December 2012). De Top 20 van Europese grootstedelijke regio's 1995–2011; Randstad Holland in internationaal perspectief [Top 20 of European metropolitan regions 1995–2011; Randstad Holland compared internationally] (PDF) (Technical report) (ภาษาดัตช์). Delft: TNO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 March 2014. สืบค้นเมื่อ 25 July 2013.
- ↑ "Postcodetool for 3011AD". Actueel Hoogtebestand Nederland (ภาษาดัตช์). Het Waterschapshuis. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2013. สืบค้นเมื่อ 20 August 2013.
- ↑ "Geschiedenis van Rotterdam". Gemeente Rotterdam. 9 March 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016.
- ↑ https://opendata.cbs.nl/statline/#/CBS/nl/dataset/37230ned/table?ts=1578685738191, CBS StatLine, 2020 8,219,380 Randstad 2,620,000 Rotterdam-The Hague Metro 1,160,000 Rotterdam Urban 651,446 Rotterdam Municipality
- ↑ "การท่องเที่ยวรอตเทอร์ดาม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-17. สืบค้นเมื่อ 2006-05-08.
- ↑ Jan Walburg (1 August 1984). The port of Rotterdam: Gateway to Europe.
- ↑ "Rotterdam - City, Port, History, & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 March 2018.
- ↑ "The Witte Huis or White House". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2004. สืบค้นเมื่อ 15 May 2008.
- ↑ Ruis, Edwin. Spynest.British and German Espionage from Neutral Holland 1914–1918. Brimscombe: The History Press, 2016.
- ↑ Evans 2008, pp. 122–3 .
- ↑ Brongers 2004, (ONR Part III), p. 235
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เมืองรอตเทอร์ดาม เก็บถาวร 2008-12-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ท่ารอตเทอร์ดาม