ยฺหวิดเพ็ง
ยฺหวิดเพ็ง (Jyutping) เป็นระบบการถอดเป็นอักษรโรมันสำหรับภาษากวางตุ้ง พัฒนาโดยสมาคมภาษาศาสตร์ฮ่องกง (LSHK) ซึ่งเป็นกลุ่มวิชาการในปี 1993 ระบบนี้มีชื่อทางการคือ แบบแผนการถอดภาษากวางตุ้งด้วยอักษรโรมันสมาคมภาษาศาสตร์ฮ่องกง โดยทางสมาคมได้สนับสนุนและส่งเสริมการใช้ระบบการถอดเป็นอักษรโรมันระบบนี้
ยฺหวิดเพ็ง | |||||||||||||||||||||||||
การถอดเป็นอักษรโรมันแบบยฺหวิดเพ็ง | |||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 粵拼 | ||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 粤拼 | ||||||||||||||||||||||||
ยฺหวิดเพ็ง | Jyut6ping3 | ||||||||||||||||||||||||
เยลกวางตุ้ง | Yuhtping | ||||||||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | การสะกดภาษาเยฺว่ | ||||||||||||||||||||||||
|
คำว่า Jyutping (มาจากการถอดอักษรจีน 粵拼 เป็นอักษรโรมันแบบยฺหวิดเพ็งเอง) เป็นคำที่ย่อมาจาก 2 คำ ประกอบด้วย Jyut6jyu5 ยฺหวิดยฺหวี (粵語 หมายถึง "ภาษาเยฺว่") และ ping3jam1 เพ็งยั้ม (拼音 หมายถึง "สะกดเสียง" ซึ่งคำนี้ในภาษาจีนกลางออกเสียงว่า "พินอิน")
แม้จะเป็นระบบการถอดเป็นอักษรโรมันเพื่อแสดงวิธีการออกเสียง แต่ก็มีผู้ที่สนใจบางคนใช้ยฺหวิดเพ็งเพื่อหยั่งเสียงการเขียนภาษากวางตุ้งให้เป็นภาษาที่อ่านตามตัวอักษร (alphabetic language) โดยจะยกระดับจากตัวเขียนเพื่อช่วยการออกเสียงไปเป็นภาษาเขียนที่มีผลใช้บังคับจริง
ประวัติ
แก้ระบบยฺหวิดเพ็งถือเป็นระบบที่ปลีกแยกจากระบบการถอดภาษากวางตุ้งด้วยอักษรโรมันแบบก่อนหน้านี้ทั้งหมด[1] (ประมาณ 12 ระบบ เช่น งานริเริ่มของโรเบิร์ต มอร์ริสันในปี 1828 และการถอดเป็นอักษรโรมันแบบมาตรฐาน รวมถึงระบบที่ใช้กันแพร่หลายอย่าง ระบบเยล และระบบซิดนีย์ เหล่า) โดยนำอักษร z และ c มาใช้ในต้นพยางค์ และ eo และ oe ในท้ายพยางค์ รวมถึงการแทนที่อักษรต้นพยางค์ y ซึ่งใช้ในระบบก่อนหน้าทั้งหมดด้วยอักษร j[2]
ในปี 2018 ระบบยฺหวิดเพ็งได้รับการปรับปรุงโดยเพิ่มอักษรท้ายพยางค์ -a และ -oet เพื่อสะท้อนว่าเป็นพยางค์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบเสียงภาษากวางตุ้งในปี 1997 โดยกลุ่มงานยฺหวิดเพ็งของสมาคมภาษาศาสตร์ฮ่องกง[3]
ต้นพยางค์
แก้b /p/ 巴 |
p /pʰ/ 怕 |
m /m/ 媽 |
f /f/ 花 |
|
d /t/ 打 |
t /tʰ/ 他 |
n /n/ 那 |
l /l/ 啦 | |
g /k/ 家 |
k /kʰ/ 卡 |
ng /ŋ/ 牙 |
h /h/ 蝦 |
|
gw /kʷ/ 瓜 |
kw /kʷʰ/ 誇 |
w /w/ 蛙 | ||
z /ts/ 渣 |
c /tsʰ/ 叉 |
s /s/ 沙 |
j /j/ 也 |
ท้ายพยางค์
แก้aa /aː/ 沙 |
aai /aːi̯/ 徙 |
aau /aːu̯/ 梢 |
aam /aːm/ 三 |
aan /aːn/ 山 |
aang /aːŋ/ 坑 |
aap /aːp̚/ 圾 |
aat /aːt̚/ 剎 |
aak /aːk̚/ 客 |
a /ɐ/ [1] |
ai /ɐi̯/ 西 |
au /ɐu̯/ 收 |
am /ɐm/ 心 |
an /ɐn/ 新 |
ang /ɐŋ/ 笙 |
ap /ɐp̚/ 濕 |
at /ɐt̚/ 失 |
ak /ɐk̚/ 塞 |
e /ɛː/ 些 |
ei /ei̯/ 四 |
eu /ɛːu̯/ 掉[2] |
em /ɛːm/ 舐[3] |
eng /ɛːŋ/ 鄭 |
ep /ɛːp̚/ 夾[4] |
ek /ɛːk̚/ 石 | ||
i /iː/ 詩 |
iu /iːu̯/ 消 |
im /iːm/ 閃 |
in /iːn/ 先 |
ing /ɪŋ/ 星 |
ip /iːp̚/ 攝 |
it /iːt̚/ 洩 |
ik /ɪk/ 識 | |
o /ɔː/ 疏 |
oi /ɔːy̯/ 開 |
ou /ou̯/ 蘇 |
on /ɔːn/ 看 |
ong /ɔːŋ/ 康 |
ot /ɔːt̚/ 喝 |
ok /ɔːk̚/ 索 | ||
u /uː/ 夫 |
ui /uːy̯/ 灰 |
un /uːn/ 寬 |
ung /ʊŋ/ 鬆 |
ut /uːt̚/ 闊 |
uk /ʊk/ 叔 | |||
eoi /ɵy̯/ 需 |
eon /ɵn/ 詢 |
eot /ɵt̚/ 摔 |
||||||
oe /œː/ 鋸 |
oeng /œːŋ/ 商 |
oet /œːt̚/ [5] |
oek /œːk̚/ 削 | |||||
yu /yː/ 書 |
yun /yːn/ 孫 |
yut /yːt̚/ 雪 |
||||||
m /m̩/ 唔 |
ng /ŋ̩/ 吳 |
- เฉพาะอักษรท้ายพยางค์ m และ ng เท่านั้นที่สามารถเขียนโดด ๆ ได้ ในฐานะพยางค์เสียงนาสิก
- ^ ^ ^ เป็นการออกเสียงคำเหล่านี้ในแบบภาษาพูดที่ไม่เป็นทางการ
- ^ ใช้ละเสียงในภาษาพูดที่ไม่เป็นทางการ เช่น a6 ใน 四十四 (sei3a6 sei3) ซึ่งมาจาก sei3 sap6 sei3[3]
- ^ ใช้เป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น oet6 เสียงเรอ หรือ goet4 เสียงกรน
วรรณยุกต์
แก้ภาษาจีนกวางตุ้งมีวรรณยุกต์ 9 เสียง วรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ 6 เสียง (contour tone) อย่างไรก็ตาม มี 3 ใน 9 เสียงที่เป็น entering tone (จีน: 入聲; ยฺหวิดเพ็ง: jap6sing1) ซึ่งปรากฏเฉพาะในพยางค์ที่ลงท้ายด้วย p, t, และ k เท่านั้น โดยไม่มีหมายเลขเพื่อบ่งบอกเสียงวรรณยุกต์เหล่านี้แยกต่างหาก (แต่มีในพินอินกวางตุ้ง ซึ่งจะแสดงในวงเล็บในตารางด้านล่าง) ประโยคช่วยจำ คือ「風水到時我哋必發達」 fung1 seoi2 dou3 si4 ngo5 dei6 bit1 faat3 daat6 อ่านว่า ฟงเสยโตวสี่หงอเต่ย์ปิ๊ดฝาดดาด หมายถึง “เมื่อฮวงจุ้ยมาเราจะเจริญรุ่งเรือง”
ชื่อวรรณยุกต์ | ยั้มผิ่ง jam1ping4 (陰平) |
ยั้มเสิง jam1soeng5 (陰上) |
ยั้มโฮย jam1heoi3 (陰去) |
เหยิ่งผิ่ง joeng4ping4 (陽平) |
เหยิ่งเสิง joeng4soeng5 (陽上) |
เหยิ่งโฮย joeng4heoi3 (陽去) |
โก๊วยั้มหยับ gou1jam1jap6 (高陰入) |
ไต๊ยั้มหยับ dai1jam1jap6 (低陰入) |
เหยิ่งหยับ joeng4jap6 (陽入) |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
หมายเลขวรรณยุกต์ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 1 (7) | 3 (8) | 6 (9) |
ระดับเสียง | สูงเรียบ หรือ สูงตก | กลางยก | กลางเรียบ (ตรงกับเสียงสามัญในภาษาไทย) |
ต่ำตก | ต่ำยก | ต่ำเรียบ | สูงเรียบ พยางค์หยุด | กลางเรียบ พยางค์หยุด | ต่ำเรียบ พยางค์หยุด |
IPA[4] | ˥ 55 / ˥˧ 53 | ˧˥ 35 | ˧ 33 | ˨˩ 21 / ˩ 11 | ˩˧ 13 | ˨ 22 | ˥ 5 | ˧ 3 | ˨ 2 |
ตัวอย่างอักษร | 分/詩 | 粉/史 | 訓/試 | 焚/時 | 奮/市 | 份/是 | 忽/識 | 發/錫 | 佛/食 |
ตัวอย่าง | fan1/si1 | fan2/si2 | fan3/si3 | fan4/si4 | fan5/si5 | fan6/si6 | fat1/7/sik1/7 | faat3/8/sek3/8 | fat6/9/sik6/9 |
ตัวอย่าง
แก้จีนตัวเต็ม | จีนตัวย่อ | ถอดเป็นอักษรโรมัน |
---|---|---|
廣州話 | 广州话 | Gwong2 zau1 waa2 |
粵語 | 粤语 | Jyut6 jyu5 |
你好 | 你好 | nei5 hou2 |
ตัวอย่างการถอดเป็นอักษรโรมันแบบยฺหวิดเพ็งจากความตอนหนึ่งในบทกวีสมัยถัง 300 บท
春曉 孟浩然 |
Ceon1 Hiu2 Maang6 Hou6 Jin4 |
---|---|
春眠不覺曉, | Ceon1 min4 bat1 gok3 hiu2, |
處處聞啼鳥。 | cyu3 cyu3 man4 tai4 niu5. |
夜來風雨聲, | Je6 loi4 fung1 jyu5 sing1, |
花落知多少? | faa1 lok6 zi1 do1 siu2? |
อ้างอิง
แก้- ↑ "The Jyutping Scheme". The Linguistic Society of Hong Kong. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 April 2013. สืบค้นเมื่อ 3 January 2016.
- ↑ Kataoka, Shin; Lee, Cream (2008). "A System without a System: Cantonese Romanization Used in Hong Kong Place and Personal Names". Hong Kong Journal of Applied Linguistics: 94–98.
- ↑ 3.0 3.1 Linguistic Society of Hong Kong. "Jyutping 粵拼". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-06. สืบค้นเมื่อ 2020-10-07.
- ↑ Matthews, S.; Yip, V. Cantonese: A Comprehensive Grammar; London: Routledge, 1994
หนังสืออ่านเพิ่ม
แก้- Zee, Eric (1999). Handbook of the International Phonetic Association. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 58–60. ISBN 0521652367.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Jyutping Pronunciation Guide
- 粵語拼盤 เก็บถาวร 2006-02-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: Learning the phonetic system of Cantonese
- Chinese Character Database (Phonologically Disambiguated According to the Cantonese Dialect)
- The CantoDict Project is a dedicated Cantonese-Mandarin-English online dictionary which uses Jyutping by default
- MDBG free online Chinese-English dictionary (supports both Jyutping and Yale romanization)