มีชัย ฤชุพันธุ์
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
มีชัย ฤชุพันธุ์ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ภ. ท.จ. (เกิด 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481) เป็นนักกฎหมายและนักการเมืองชาวไทย อดีตประธานรัฐสภาไทย อดีตประธานวุฒิสภา อดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตรักษาการนายกรัฐมนตรี ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์[1]
มีชัย ฤชุพันธุ์ | |
---|---|
ประธานรัฐสภาไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 28 – 29 มิถุนายน พ.ศ. 2535 (0 ปี 1 วัน) | |
ดำรงตำแหน่ง 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 28 มกราคม พ.ศ. 2551 (1 ปี 95 วัน) | |
ประธานวุฒิสภาไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 28 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2539 (3 ปี 266 วัน) | |
ดำรงตำแหน่ง 6 เมษายน พ.ศ. 2539 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2543 (3 ปี 349 วัน) | |
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 28 มกราคม พ.ศ. 2551 (1 ปี 95 วัน) | |
รักษาการนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤษภาคม – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 (0 ปี 17 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | สุจินดา คราประยูร (นายกรัฐมนตรี) |
ถัดไป | อานันท์ ปันยารชุน (นายกรัฐมนตรี) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | อิสระ |
คู่สมรส | อัมพร ฤชุพันธุ์ (เสียชีวิต) |
บุตร |
|
ประวัติ
แก้มีชัย มีชื่อเล่นว่า แป๊ะ เกิดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 อดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติคนเดียวที่เป็นพลเรือน อดีตรักษาการนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย อดีตประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534[2]และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบัน อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์[3][4]อดีตประธานรัฐสภา และเป็นประธานรัฐสภาที่ดำรงตำแหน่งสั้นที่สุดคือ 1 วัน เนื่องจากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ประธานรัฐสภามาจากประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา และ รองนายกรัฐมนตรี ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นผู้ก่อตั้งสำนักงานกฎหมายมีชัย ฤชุพันธุ์ สมรสกับคุณหญิงอัมพร (เสนีวงศ์ ณ อยุธยา) ฤชุพันธุ์ (ถึงแก่อนิจกรรม) มีบุตรี 2 คน คือ นางมยุระ ช่วงโชติ และ นางมธุรส โลจายะ
หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พลเอกสุจินดา คราประยูร ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ซึ่งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น ได้รับการคัดเลือกจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี จึงทำให้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งประมุขของทั้งฝ่ายบริหาร (รักษาการนายกรัฐมนตรี) และฝ่ายนิติบัญญัติ (ประธานรัฐสภา)
การศึกษา
แก้- พ.ศ. 2492-2501 โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2501-2504 นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2508-2509 ปริญญาโท ด้านกฎหมายเปรียบเทียบ จาก Southern Methodist University สหรัฐอเมริกา โดยทุนรัฐบาลไทย
- พ.ศ. 2509-2510 ฝึกงานโครงการ Legislative Internship Program ของรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปริญญากิตติมศักดิ์
- พ.ศ. 2529 - นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยอดัมสัน สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
- พ.ศ. 2539 - นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม
- พ.ศ. 2540 - นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- พ.ศ. 2545 - นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
การทำงาน
แก้นายมีชัย เริ่มรับราชการที่สำนักงาน ก.พ. และมาใช้ทุนรัฐบาลที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จนได้เป็นผู้อำนวยการกองยกร่างกฎหมายคนแรกของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และก้าวหน้าในราชการเรื่อยมาจนได้รับตำแหน่งกรรมการร่างกฎหมายประจำ (นักกฎหมายกฤษฎีกาเชี่ยวชาญและนักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ)สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ต่อมา ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย ในรัฐบาลสัญญา ธรรมศักดิ์ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ธานินทร์ กรัยวิเชียร และพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในพ.ศ. 2517- 2518 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษากฎหมายสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์[5][6] ระหว่าง พ.ศ. 2523 - 2531 และรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[7] ระหว่าง พ.ศ. 2531 - 2533 และดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน[8] และรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร ระหว่าง พ.ศ. 2534 - 2535[9] และทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรี หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2 สมัย คือ ระหว่าง พ.ศ. 2520 - 2522 และระหว่าง พ.ศ. 2532 - 2534 และดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา 3 สมัย ระหว่าง พ.ศ. 2526 - 2532, พ.ศ. 2535 - 2539 และ พ.ศ. 2539[10] - 2543 โดยได้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา 2 สมัย [11][12]และประธานรัฐสภา
นายมีชัย ได้รับการดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี ในระหว่างวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ถึง 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย และ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรีนานที่สุดของประเทศไทย
นายมีชัย เป็นผู้ผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2534 เพื่อจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. เพื่อดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญ อันเป็นที่มาของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ในเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 นายมีชัยเป็นที่ปรึกษาคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฝ่ายกฎหมาย มีบทบาทในการร่างแถลงการณ์ประกาศ และคำสั่ง คปค. หลายฉบับ และร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ร่วมกับนายวิษณุ เครืองาม และนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ [13] และถอนตัวออกไปหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เนื่องจากถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทบาทการทำงานในอดีต
บทบาททางการเมือง
แก้นอกจากนี้ นายมีชัย ยังได้ดำรงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2551[14] และเป็นกรรมการสำคัญๆอีกหลายตำแหน่ง เช่น ประธานกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 1 (กฎหมายการเมืองการปกครอง) โดยได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่ พ.ศ. 2525 ถึงปัจจุบัน ประธานคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ....ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการสาขากฎหมายบริหารปกครอง ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ปะธานอนุกรรมการสาขากฎหมายล้มละลาย ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการพิจารณาการปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการพิจารณาการปรับปรุงค่าตอบแทนสำหรับคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการพิจารณายกเลิกกฎหมาย ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ กรรมการจัดทำพจนานุกรมทางกฎหมาย ราชบัณฑิตยสภา กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ
ปี 2550 สื่อมวลชนประจำรัฐสภาตั้งฉายานายมีชัย ฤชุพันธุ์ ว่า ซีอีโอ สนช. เนื่องจากสามารถลำเลียงกฎหมายที่รัฐบาลและคมช.ต้องการเข้าสู่ที่ประชุมได้อย่างไม่บกพร่อง และใช้ความเด็ดขาดในการควบคุมการประชุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแก้ปัญหาความขัดแย้งและความแตกแยกระหว่างสนช.กลุ่มต่างๆได้เป็นอย่างดี ทำให้สมาชิกมีความยำเกรงในตัวนายมีชัย ราวกับพนักงานบริษัทที่เกรงอกเกรงใจซีอีโอของบริษัท
นอกจากนี้ยังได้รับฉายา คู่กัดแห่งปี ระหว่างนายมีชัย กับ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ เนื่องจากเป็นคู่แข่งชิงตำแหน่งประธานสนช. หลังจากนั้นก็มีความขัดแย้งมาตลอด กฎหมายที่นายมีชัยหนุนจะถูก น.ต.ประสงค์คัดค้านอย่างที่สุด เช่น ร่างพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือพ.ร.บ.มหาวิทยาลัยออกนอกระบบทั้งหลาย และในช่วงทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ การประชุมไหนมีน.ต.ประสงค์ก็จะไม่มีนายมีชัย และถ้านายมีชัยเข้าประชุม ก็จะไม่มีน.ต.ประสงค์[15] ปี 2558 เขารับตำแหน่งเป็น ประธานกรรมการบริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) จำกัด (มหาชน) ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ 5 เมษายน 2562[16]ในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2561 เขาได้รับรางวัล “เกียรติภูมินิติโดม” ในฐานะศิษย์เก่าดีเด่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตรฺ์[17]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[18]
- พ.ศ. 2524 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[19]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[20]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[21]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พระพรหมคุณาภรณ์ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ศาสตราจารย์ คุณหญิงกุหลาบ มัลลิกะมาส)
- ↑ อดีตประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ (นายมีชัย ฤชุพันธุ์)
- ↑ มีชัย ฤชุพันธุ์ ประกาศลาออกจากนายกสภามรร. อย่างเป็นทางการแล้ว
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานวุฒิสภา (นายมีชัย ฤชุพันธุ์) (สมัยที่ 1)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานวุฒิสภา (นายมีชัย ฤชุพันธุ์) (สมัยที่ 2)
- ↑ "ฝ่ายกฎหมาย มีบทบาทในการร่างแถลงการณ์ประกาศ และคำสั่ง คปค. หลายฉบับ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2006-10-02.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแตงตั้งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (นายมีชัย ฤชุพันธุ์, พลเอก จรัล กุลละวณิชย์ และนางสาวพจนีย์ ธนวรานิช
- ↑ ได้รับฉายา คู่กัดแห่งปี
- ↑ ยื่นลาออกปธ.บริษัท นิวส์ เน็ตเวิร์คฯ แจงบอร์ด “มีภารกิจส่วนตัวมากขึ้น”
- ↑ นิติศาสตร์ มธ. มอบรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น คนการเมืองเพียบ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๔๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๘, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๗
ก่อนหน้า | มีชัย ฤชุพันธุ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
โภคิน พลกุล ในตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร |
ประธานรัฐสภา ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 23 มกราคม พ.ศ. 2551) |
ยงยุทธ ติยะไพรัช ในตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร | ||
อุกฤษ มงคลนาวิน | ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา (28 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 29 มิถุนายน พ.ศ. 2535) |
มารุต บุนนาค | ||
พลเอก สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรี |
รักษาการนายกรัฐมนตรี (ครม.48) (24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535) |
อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี |