มหากฎบัตร
มหากฎบัตร (ละติน: Magna Carta; แปลว่า "กฎบัตรใหญ่")[1] บางครั้งก็เรียกว่า "กฎบัตรใหญ่แห่งเสรีภาพ" (Magna Carta Libertatum) เป็นกฎบัตรของอังกฤษที่ตราขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1215 ในสมัยพระเจ้าจอห์น โดยถือกันว่ามหากฎบัตรนี้คืออิทธิพลที่ยิ่งใหญ่ที่มีต่อประวัติศาสตร์ศาสตร์อันยาวนานของกระบวนการที่นำมาสู่กฎหมายรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง]
มหากฎบัตร ซึ่งตราขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1215 * | |
---|---|
ความทรงจำแห่งโลกโดยยูเนสโก | |
Cotton MS. Augustus II. 106 เป็นหนึ่งในสำเนาสี่ชุดของ ต้นฉบับมหากฎบัตร ค.ศ. 1215 ที่เหลือรอดมาถึงปัจจุบัน | |
ที่เก็บรักษา | หอสมุดบริติช (สำเนา 2 ชุด), อาสนวิหารลิงคอล์น (สำเนา 1 ชุด), อาสนวิหารซอลส์บรี (สำเนา 1 ชุด) |
ประเทศ | บริเตนใหญ่ |
ภูมิภาค ** | ยุโรปและอเมริกาเหนือ |
อ้างอิง | 2008-29 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2009/2552 |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีความทรงจำแห่งโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
การที่มหากฎบัตรเกิดขึ้นมาได้นั้นเนื่องมาจากข้อขัดแย้งระหว่างพระสันตปาปา พระเจ้าจอห์น และคณะขุนนางอังกฤษของพระองค์เกี่ยวกับสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์ มหากฎบัตรบังคับให้พระมหากษัตริย์ทรงสละสิทธิ์บางอย่าง และยอมรับกระบวนการทางกฎหมายบางอย่าง และยังให้รับว่าพระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย
มีความเข้าใจผิดที่แพร่หลายหลายประการเกี่ยวกับมหากฎบัตรนี้[ต้องการอ้างอิง] เช่นว่าเป็นเอกสารชิ้นแรกสุดที่จำกัดสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์โดยกฎหมายบ้าง (ความจริงไม่ใช่กฎบัตรแรกที่จำกัดสิทธิ์กษัตริย์และมหากฎบัตรนี้ส่วนหนึ่งมาจากสืบเนื่องกฎบัตรแห่งอิสรภาพ) และในแง่ปฏิบัติ พระมหากษัตริย์ถูกจำกัดสิทธิ์บ้าง เป็นเอกสารที่ตายตัวไม่มีการเปลี่ยนแปลงบ้าง
มหากฎบัตรได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาโดยตลอดยุคมืด และแก้ไขต่อในสมัยราชวงศ์ทิวดอร์และราชวงศ์สจวต และต่อมาในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 ล่วงมาถึงช่วงแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 มาตราต่าง ๆ ที่มีเดิมในกฎหมายอังกฤษถูกยกเลิกหรือได้รับการปรับปรุงไปเกือบหมด
อิทธิพลของมหากฎบัตรนอกประเทศอังกฤษ[ต้องการอ้างอิง] อาจเห็นได้ในรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาและในกฎหมายว่าด้วยสิทธิ์ นอกจากนี้ ประเทศต่าง ๆ ที่ใช้กฎหมายจารีตแต่มีรัฐธรรมนูญจะมีอิทธิพลของมหากฎบัตรอยู่ ทำให้มหากฎบัตรกลายเป็นเอกสารทางกฎหมายที่มีความสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งประชาธิปไตย
เนื้อหาหลักในมหากฎบัตรกล่าวถึงสิทธิในการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของเสรีชน ไม่ว่าบุคคลนั้นจะอยู่ในชนชั้นหรือวรรณะใดก็ตาม และพระเจ้าแผ่นดินจะต้องมอบสิทธินี้ให้กับขุนนางหรือผู้ครอบครองที่ดิน (vassal) และขุนนางนั้นจะต้องมอบสิทธิให้กับพลเมืองหรือไพร่ในสังกัด โดยพลเมืองทุกคนจะไม่ถูกกดขี่ พ่อค้าและชาวนาไม่จำเป็นต้องมอบสินค้าบางส่วนหรือผลิตผลทางเกษตรให้กับขุนนางหรือพระเจ้าแผ่น เพื่อเป็นค่าคุ้มครอง ดังเนื้อความในส่วนหนึ่งของมหากฎบัตร ที่กล่าวว่า "จะไม่มีบุคคลที่ถูกกักขัง หน่วงเหนี่ยว โดยปราศจากอิสรภาพ หรือถูกยึด ขู่กรรโชก ทรัพย์สินโดยปราศจากคำตัดสินของศาล" นอกจากนี้มีในมหากฎบัตรยังได้กล่าวถึงการเรียกเก็บภาษีของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินจะทรงเรียกเก็บภาษีตามพระราชหฤทัย โดยไม่ผ่านการเห็นชอบจากสภาบริหารราชการแผ่นดิน (The Great Council of the Nation) มิได้
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-26. สืบค้นเมื่อ 2014-03-26.
- นันทนา กปิลกาญจน์. ประวัติศาสตร์และอารยธรรมโลก ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์, 2542.
- Robinson, J.H. Medieval and Modern Times. 1st ed., Boston: Ginn and Company, 1926.