ภาษาบาเลนเซีย (สเปน: valenciano) หรือ ภาษาวาเล็นซิอา (บาเลนเซีย: valencià, กาตาลา: valencià)[4] เป็นภาษาหนึ่งที่ใช้สื่อสารกันในแคว้นบาเลนเซีย[5] และในบริเวณเอลการ์เชของแคว้นภูมิภาคมูร์เซีย ประเทศสเปน ในแคว้นบาเลนเซีย ภาษานี้มีฐานะเป็นภาษาราชการร่วมกับภาษาสเปนตามธรรมนูญการปกครองตนเองของแคว้นและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสเปน พ.ศ. 2521[6]

ภาษาบาเลนเซีย
valencià
ออกเสียง[valensiˈa]
ประเทศที่มีการพูดสเปน
ภูมิภาคแคว้นบาเลนเซีย, แคว้นภูมิภาคมูร์เซีย (บริเวณเอลการ์เช)
จำนวนผู้พูด2.4 ล้านคน  (2547)[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรละติน (ชุดตัวอักษรกาตาลา)
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ แคว้นบาเลนเซีย (สเปน)
ผู้วางระเบียบบัณฑิตยสถานภาษาแห่งบาเลนเซีย
รหัสภาษา
ISO 639-3
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาบาเลนเซียจัดอยู่ในกลุ่มภาษากาตาลาตะวันตก[3] จากการสำรวจความคิดเห็นครั้งหนึ่งพบว่า ชาวแคว้นบาเลนเซียส่วนใหญ่ (เกือบร้อยละ 65) มองว่าภาษานี้เป็นภาษาแยกต่างหากจากภาษากาตาลา แต่มุมมองดังกล่าวขัดแย้งกับมุมมองทางวิชาการโดยทั่วไปซึ่งถือว่าภาษานี้เป็นภาษาย่อยของภาษากาตาลา[7] ภายใต้ธรรมนูญการปกครองตนเองแห่งแคว้นบาเลนเซีย บัณฑิตยสถานภาษาแห่งบาเลนเซีย (Acadèmia Valenciana de la Llengua) ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นผู้วางระเบียบเกี่ยวการใช้ภาษา หน่วยงานนี้ถือว่า กาตาลา และ บาเลนเซีย เป็นเพียงชื่อเรียกที่ต่างกันของภาษาเดียวกัน[8] อย่างไรก็ดี ภาษาบาเลนเซียก็มีวิธภาษามาตรฐานเป็นของตนเองซึ่งมีพื้นฐานมาจากภาษาถิ่นที่ใช้ในพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างจังหวัดบาเลนเซียตอนใต้กับจังหวัดอาลิกันเตตอนเหนือ

ผลงานที่สำคัญที่สุดบางชิ้นของวงวรรณกรรมบาเลนเซียดำรงอยู่ในยุคทองซึ่งกินเวลาตั้งแต่ยุคกลางตอนปลายไปจนถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ผลงานเหล่านั้นรวมถึงนิยายวีรคติอัศวินเรื่อง ติรันต์โลบลังก์ ของจูอาน็อต มาร์โตเร็ลย์ และกวีนิพนธ์ของเอาซิอัส มาร์ก หนังสือเล่มแรกในคาบสมุทรไอบีเรียที่ผลิตด้วยวิธีการพิมพ์แบบตัวเรียงนั้นพิมพ์เป็นภาษาบาเลนเซีย[9][10] เกมหมากรุกเกมแรกที่มีการบันทึกไว้พร้อมด้วยกติกาการเดินหมากควีนและบิชอปอยู่ในบทกวีเรื่อง สกักส์ดาโมร์ ซึ่งแต่งเป็นภาษาบาเลนเซียและได้รับการตีพิมพ์เมื่อประมาณ พ.ศ. 2018 (ค.ศ. 1475)

อ้างอิง

แก้
  1. Míriam Luján; Carlos D. Martínez; Vicente Alabau, Evaluation of several Maximum Likelihood Linear Regression variants for language adaptation (PDF), Proceedings of the sixth international conference on Language Resources and Evaluation, LREC 2008, the total number of people who speak Catalan is 7,200,000, (...). The Valencian dialect is spoken by 27% of all Catalan speakers. citing Vilajoana, Jordi, and Damià Pons. 2001. Catalan, Language of Europe. Generalitat de Catalunya, Department de Cultura. Govern de les Illes Balears, Conselleria d’Educació i Cultura.
  2. 2.0 2.1 นักวิชาการบางคนถือว่าภาษากาตาลาอยู่ในกลุ่มโรมานซ์ไอบีเรีย/ไอบีเรียตะวันออก
  3. 3.0 3.1 Wheeler 2006.
  4. "Corts Valencianes - Estatut d´Autonomia de la Comunitat Valenciana". Cortsvalencianes.es. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-03. สืบค้นเมื่อ 12 October 2017.
  5. Wheeler 2006, p. 186.
  6. Generalidad Valenciana (10 de abril de 2006), "LEY ORGÁNICA 1/2006, de 10 de abril, de Reforma de la Ley Orgánica 5/1982, de 1 de julio, de Estatuto de Autonomía de la Comunidad Valenciana." (pdf), DOCV, สืบค้นเมื่อ 17 de febrero de 2013 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. "LaVanguardia.com - Noticias, actualidad y última hora en Catalunya, España y el mundo". Lavanguardia.mobi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-27. สืบค้นเมื่อ 12 October 2017.
  8. Dictamen de l'Acadèmia Valenciana de la Llengua sobre els principis i criteris per a la defensa de la denominació i l'entitat del valencià.
  9. Trobes en llaors de la Verge Maria ("Poems of praise of the Virgin Mary") 1474.
  10. Costa Carreras & Yates 2009, pp. 6–7.

บรรณานุกรม

แก้