ภาพพิมพ์หิน[1] หรือ กลวิธีพิมพ์หิน[2] (อังกฤษ: Lithography) “Lithography” มาจากภาษากรีกว่า “λίθος” (lithos) ที่แปลว่า “หิน” สมาสกับคำว่า “γράφω” (graphο) ที่แปลว่า “เขียน” คือเทคนิคการพิมพ์ที่ใช้หินปูนพิมพ์หิน (lithographic limestone) หรือแผ่นโลหะที่มีผิวเรียบ เดิมเทคนิคการพิมพ์ใช้น้ำมันหรือไขมัน แต่ในสมัยใหม่ภาพสร้างขึ้นโดยการใช้พอลิเมอร์ทำปฏิกิริยากับแผ่นพิมพ์อะลูมิเนียม พื้นผิวที่ราบเรียบแบ่งออกเป็น

  1. บริเวณซับน้ำ (Hydrophilic) ที่ซับฟิล์มหรือน้ำขณะที่ยังชื้น แต่ไม่ซับหมึก
  2. บริเวณ ต้านน้ำ (Hydrophobic) ที่ซับหมึกเพราะเป็นบริเวณที่มีแรงดึงของผิว (surface tension) สูงกว่าบนบริเวณของภาพที่มันกว่าที่ยังคงแห้งเพราะน้ำจะไม่เกาะตัวในบริเวณที่มัน
“ภาพพิมพ์หิน” ในหนังสือ “ศิลปะจากธรรมชาติ” โดย เอิร์นสท์ เฮิคเคิล
แท่นพิมพ์แบบพิมพ์หินสำหรับพิมพ์แผนที่ในมิวนิก

กระบวนการทำภาพพิมพ์หินค่อนข้างจะแตกต่างกับการพิมพ์แกะลาย (Intaglio printmaking) ที่แผ่นพิมพ์จะได้รับการแกะหรือทำเป็นลายเช่นในการทำภาพพิมพ์มัชฌิมรงค์ (Mezzotint) ที่จะทำเป็นร่องให้ซับหมึก หรือในการทำภาพพิมพ์แกะไม้ และใช้หมึกที่ไม่ใช่หมึกกันน้ำทาบนผิวส่วนที่นูนที่เป็นตัวอักษรหรือภาพก่อนที่จะทำการพิมพ์

ภาพพิมพ์หินเป็นเทคนิคที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยนักเขียนชาวบาวาเรีย อล็อยส์ เซอเนอเฟลเดอร์ ในปี ค.ศ. 1796 เพื่อใช้เป็นการลดต้นทุนในการพิมพ์งานศิลปะ[3][4] ภาพพิมพ์หินสามารถใช้ในการพิมพ์ตัวอักษรหรืองานศิลปะบนกระดาษหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม หนังสือหรือหนังสือพิมพ์ที่พิมพ์เป็นจำนวนมากทั้งหมดในปัจจุบัน ใช้วิธีพิมพ์ที่เรียกว่า “offset lithography” นอกจากนั้นคำว่า “lithography” ก็ยังอาจจะหมายถึง photolithography ซึ่งเป็นเทคนิค microfabrication ที่ใช้ในการทำ integrated circuits และ microelectromechanical systems แม้ว่าเทคนิคที่ใช้จะใกล้เคียงกับการพิมพ์กัดกรด มากกว่าก็ตาม

อ้างอิง

แก้
  1. มะลิฉัตร เอื้ออานันท์. “พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ” สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2545
  2. ""ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-01-19.
  3. Meggs, Philip B. A History of Graphic Design. (1998) John Wiley & Sons, Inc. p 146 ISBN 0-471-29198-6
  4. Carter, Rob, Ben Day, Philip Meggs. Typographic Design: Form and Communication, Third Edition. (2002) John Wiley & Sons, Inc. p 11

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ภาพพิมพ์หิน