ฟุตบอลทีมชาติเซนต์คิตส์และเนวิส
ฟุตบอลทีมชาติเซนต์คิตส์และเนวิส เป็นทีมฟุตบอลของสหพันธรัฐเซนต์คิตส์และเนวิสในการแข่งขันระดับชาติ ควบคุมและบริหารงานโดยสมาคมฟุตบอลเซนต์คิตส์และเนวิส (เอสเคเอ็นเอฟเอ) และเป็นสมาชิกของสหภาพฟุตบอลแคริบเบียนรวมถึงคอนคาแคฟ
ฉายา | เดอะ ซูการ์ บอยซ์ ไอ้หนุ่มเมืองน้ำตาล (ฉายาในภาษาไทย) | ||
---|---|---|---|
สมาคม | สมาคมฟุตบอลเซนต์คิสและเนวิส | ||
สมาพันธ์ย่อย | ซีเอฟยู (แคริบเบียน) | ||
สมาพันธ์ | คอนคาแคฟ (อเมริกาเหนือ) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | ฟรันซิสโก โมลีนา | ||
กัปตัน | จูเลียนี อาร์ชิบอล์ด | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | เจรัลด์ วิลเลียมส์ (85) | ||
ทำประตูสูงสุด | เคธ กัมบ์ส (24) | ||
สนามเหย้า | วอร์เนอร์ พาร์ก | ||
รหัสฟีฟ่า | SKN | ||
| |||
อันดับฟีฟ่า | |||
อันดับปัจจุบัน | 146 1 (20 มิถุนายน 2024)[1] | ||
อันดับสูงสุด | 73 (ตุลาคม ค.ศ. 2016, มีนาคม ค.ศ. 2017) | ||
อันดับต่ำสุด | 176 (พฤศจิกายน ค.ศ. 1994) | ||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
เซนต์คริสโตเฟอร์และเนวิส 2–4 กรีเนดา (เซนต์คริสโตเฟอร์และเนวิส; 18 สิงหาคม ค.ศ. 1938) | |||
ชนะสูงสุด | |||
เซนต์คิตส์และเนวิส 10–0 มอนต์เซอร์รัต (บาสแตร์ เซนต์คิตส์และเนวิส; 17 เมษายน ค.ศ. 1992) แซ็ง-มาร์แต็ง 0–10 เซนต์คิตส์และเนวิส (เดอะแวลลีย์ แองกวิลลา; 14 ตุลาคม ค.ศ. 2018) | |||
แพ้สูงสุด | |||
เม็กซิโก 8–0 เซนต์คิตส์และเนวิส (มอนเตร์เรย์ ประเทศเม็กซิโก; 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004) | |||
คอนคาแคฟโกลด์คัพ | |||
เข้าร่วม | 1 (ครั้งแรกใน 2023) | ||
ผลงานดีที่สุด | รอบแบ่งกลุ่ม (2023) | ||
เกียรติยศ |
ทีมชาติเซนต์คิตส์และเนวิส มีชื่อเล่นว่า เดอะ ซูการ์ บอยซ์ จากการที่มีการผลิตน้ำตาลเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ
สำหรับในการแข่งขันระดับภูมิภาค ทีมชาติเซนต์คิสและเนวิส ผ่านเข้าไปแข่งขันใน แคริบเบียน คัพ ทั้งหมด 2 ครั้ง โดยผลงานดีที่สุดคือการคว้าตำแหน่งรองชนะเลิศได้ในแคริบเบียนคัพ 1997 ที่ประเทศแอนติกาและบาร์บูดา
ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2015 ทีมชาติเซนต์คิตส์และเนวิส ได้เดินทางไปยังทวีปยุโรปเพื่อแข่งขันกับทีมชาติอันดอร์รา และทีมชาติเอสโตเนีย โดยถือเป็นครั้งแรกที่เซนต์คิตส์และเนวิสลงแข่งขันกับทีมชาติจากทวีปยุโรป
อ้างอิง
แก้- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.