พ.ศ. 2546
ปี
พุทธศักราช 2546 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2003 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินกริกอเรียน และกำหนดให้เป็น:
- ปีสากลแห่งน้ำจืด[1]
- ปีแห่งผู้ทุพพลภาพในยุโรป
- ปีมะแม เบญจศก จุลศักราช 1365 (วันที่ 16 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2546 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 2003 MMIII |
Ab urbe condita | 2756 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1452 ԹՎ ՌՆԾԲ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6753 |
ปฏิทินบาไฮ | 159–160 |
ปฏิทินเบงกอล | 1410 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2953 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 51 Eliz. 2 – 52 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2547 |
ปฏิทินพม่า | 1365 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7511–7512 |
ปฏิทินจีน | 壬午年 (มะเมียธาตุน้ำ) 4699 หรือ 4639 — ถึง — 癸未年 (มะแมธาตุน้ำ) 4700 หรือ 4640 |
ปฏิทินคอปติก | 1719–1720 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3169 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1995–1996 |
ปฏิทินฮีบรู | 5763–5764 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2059–2060 |
- ศกสมวัต | 1925–1926 |
- กลียุค | 5104–5105 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 12003 |
ปฏิทินอิกโบ | 1003–1004 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1381–1382 |
ปฏิทินอิสลาม | 1423–1424 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเฮเซ 15 (平成15年) |
ปฏิทินจูเช | 92 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4336 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 92 民國92年 |
เวลายูนิกซ์ | 1041379200–1072915199 |
ผู้นำประเทศไทย
แก้- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี: พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
เหตุการณ์
แก้มกราคม
แก้- 10 มกราคม – ประเทศเกาหลีเหนือประกาศถอนตัวจากสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์[2]
- 22 มกราคม – ได้รับสัญญาณสุดท้ายจากยานอวกาศไพโอเนียร์ 10 ของนาซา ซึ่งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 12.2 พันล้านกิโลเมตร[3]
- 29 มกราคม – เกิดเหตุจลาจลในพนมเปญ ประเทศกัมพูชา โดยมีเป้าหมายเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย หลังมีรายงานเท็จว่าดาราสาวชาวไทยให้ความเห็นเกี่ยวกับวิหาร ประเทศไทยตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับกัมพูชาเพื่อเป็นการตอบโต้[4]
กุมภาพันธ์
แก้- 1 กุมภาพันธ์ - กระสวยอวกาศโคลัมเบียขององค์การนาซา ระเบิดเหนือเท็กซัส ระหว่างการเดินทางกลับเข้าสู่บรรยากาศโลก ในเที่ยวบิน เอสทีเอส-107 คร่าชีวิตนักบิน 7 คน[5]
- 3 กุมภาพันธ์ - รถไฟชนกันที่ระหว่างโคกคลี - บ้านจงโก
- 4 กุมภาพันธ์ – มีการเปลี่ยนชื่อสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียไปเป็น "เซอร์เบียและมอนเตเนโกร" ทำให้การใช้ชื่อ "ยูโกสลาเวีย" สิ้นสุดลงหลังใช้งานเป็นเวลา 73 ปี[6]
- 15 กุมภาพันธ์ - การประท้วงต่อต้านสงคราม 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546: ประชาชนราว 10-15 ล้านคนใน 600 เมืองทั่วโลก ร่วมกันประท้วงสหรัฐอเมริกา ในการทำสงครามกับอิรัก เป็นการประท้วงที่มีคนเข้าร่วมมากที่สุดในประวัติศาสตร์[7]
- 26 กุมภาพันธ์ – สงครามดาร์ฟูร์เริ่มต้นขึ้นหลังกลุ่มกบฏลุกฮือต่อต้านรัฐบาลซูดาน[8]
- 27 กุมภาพันธ์ – Biljana Plavšić อดีตผู้นำชาวบอสเนียเชื้อสายเซิร์บ ถูกทางคณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียของสหประชาชาติ ตัดสินจำคุก 11 ปี จากการก่อเหตุอาชญากรรมสงครามในช่วงสงครามบอสเนีย[9]
มีนาคม
แก้- 8 มีนาคม – ผลประชามติยอมรับให้ประเทศมอลตาเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป[10]
- 12 มีนาคม
- Zoran Đinđić นายกรัฐมนตรีเซอร์เบีย ถูกมือปืนซุ่มยิงลอบสังหารที่เบลเกรด[11]
- องค์การอนามัยโลกประกาศเตือนการแพร่ระบาดของโรคซาร์ระดับโลกหลังโรคนี้กระจายจากจีนแผ่นดินใหญ่ไปที่ฮ่องกงและเวียดนาม[12]
- 20 มีนาคม – สงครามอิรักเริ่มต้นขึ้นด้วยการบุกครองอิรักโดยสหรัฐและกองกำลังพันธมิตร[13]
- 23 มีนาคม – ผลประชามติยอมรับให้ประเทศสโลวีเนียเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปและเนโท[14]
เมษายน
แก้- 9 เมษายน – กองทัพสหรัฐควบคุมแบกแดด ทำให้การปกครองของซัดดัม ฮุสเซนสิ้นสุดลง[13]
- 12 เมษายน – ผลประชามติยอมรับให้ประเทศฮังการีเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป[15]
- 14 เมษายน – โครงการจีโนมมนุษย์เสร็จสมบูรณ์ โดยมีจีโนมมนุษย์ 99% เรียงลำดับความถูกต้องสูงถึง 99.99%[16]
พฤษภาคม
แก้- 30 พฤษภาคม - กลุ่มทหารในสังกัดรัฐบาลประเทศพม่า บุกเข้าจับกุมตัวออง ซาน ซูจี
มิถุนายน
แก้- 30 มิถุนายน – สงครามคองโกที่สองสิ้นสุดลงหลังพรรคที่สู้รบในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกลงนามสนธิสัญญาสันติภาพ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตล้านกว่าคน[17]
กรกฎาคม
แก้22 กรกฎาคม - ทหารสหรัฐอเมริกาบุกโจมตีอาคารหลังหนึ่งในเมืองโมสูล ประเทศอิรัก เป็นผลให้บุตรชาย 2 คน ของซัดดัม ฮุสเซน คือ อูเดย์และคูเซย์ เสียชีวิต
สิงหาคม
แก้- 11 สิงหาคม - องค์การนาโตรับหน้าที่บัญชาการกองกำลังรักษาสันติภาพในอัฟกานิสถาน นับเป็นปฏิบัติการนอกทวีปยุโรปครั้งแรกในรอบ 54 ปี[18]
- 27 สิงหาคม - ดาวอังคารเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบเกือบ 60,000 ปี[19]
กันยายน
แก้- 27 กันยายน - มีการปล่อยยานสำรวจอวกาศสมาร์ต-1 ขององค์การอวกาศยุโรปไปที่ดวงจันทร์[20]
ตุลาคม
แก้- 1 ตุลาคม – เปิดตัวโฟร์แชน[21]
- 5 ตุลาคม – เครื่องบินรบอิสราเอลโจมตีบริเวณที่มีการกล่าวหาเป็นฐานทัพญิฮาดอิสลามในดินแดนซีเรีย ถือเป็นการโจมตีนอกประเทศครั้งแรกนับตั้งแต่สงครามยมคิปปูร์ใน ค.ศ. 1973[22]
- 15 ตุลาคม - โครงการอวกาศของจีน: สาธารณรัฐประชาชนจีนส่งยานเสินโจว 5 พร้อมนักบินอวกาศคนแรกของตนขึ้นสู่อวกาศ[23] ยานเสินโจว 5 โคจรรอบโลก 14 รอบ โดยใช้เวลา 21 ชั่วโมง ก่อนกลับสู่พื้นโลก
- 31 ตุลาคม - มหาธีร์ โมฮัมหมัด ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย หลังจากดำรงตำแหน่งมานานถึง 22 ปี
พฤศจิกายน
แก้- 14 พฤศจิกายน - นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์น้อย เซดนา
- 15 พฤศจิกายน - เกิดระเบิดพลีชีพรถบรรทุกพุ่งชนโบสถ์ยิวในกรุงอิสตันบูล มีผู้เสียชีวิต 25 คน คาดว่าเป็นฝีมือกลุ่มอัลกออิดะห์
- 23 พฤศจิกายน - เอดูอาร์ด เชวาร์ดนาดเซ ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งจอร์เจีย หลังเกิดเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่คัดค้านผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี[24]
ธันวาคม
แก้- 13 ธันวาคม – ซัดดัม ฮุสเซน อดีตประธานาธิบดีอิรัก ถูกกองทัพสหรัฐจับกุมที่อัดเดาร์[25]
- 19 ธันวาคม – ลิเบียยอมรับที่จะกำจัดวัสดุ, อุปกรณ์ และโครงการที่มุ่งเน้นไปยังการผลิตอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง[26]
- 23 ธันวาคม – องค์การท่องเที่ยวโลกกลายเป็นหน่วยงานเฉพาะทางของสหประชาชาติ[27]
- 29 ธันวาคม – ผู้พูดภาษาอักกาลาซามีคนสุดท้ายเสียชีวิต ทำให้ภาษานี้สูญพันธุ์[28]
วันเกิด
แก้มกราคม
แก้- 14 มกราคม - มาริลิน เคท การ์ดเนอร์ (เคท) นักแสดงลูกครึ่งไทย-เยอรมัน
- 20 มกราคม - ณปภัช วรพฤทธานนท์ (จ๋า BNK48) นักร้อง และนักแสดงชาวไทย
- 24 มกราคม - กาจบัณฑิต จำปาศิลป์ (ไรอัล) นักร้องลูกทุ่งชาวไทย
- 30 มกราคม - ธวัชชัย โอชารถ นักฟุตบอลชาวไทย
- 31 มกราคม - ปณิธาน บุตรแก้ว (ไมกี้) นักแสดงลูกครึ่งไทย-เยอรมัน
กุมภาพันธ์
แก้- 5 กุมภาพันธ์ - อิงครัต ดำรงค์ศักดิ์กุล นักแสดงชาวไทย
- 19 กุมภาพันธ์ - วีริณฐ์ศรา ตั้งกิจสุวานิช (เพิร์ธ) - นักแสดงชาวไทย
- 20 กุมภาพันธ์ - อาฒยา ฐิติกุล นักกอล์ฟชาวไทย
มีนาคม
แก้- 11 มีนาคม - พฤฒิชัย รวยฟูพันธ์ (แซม) นักแสดงชาวไทย
- 17 มีนาคม - ปองพล ปัญญามิตร (ขุนพล) สมาชิกวง TPOP BUS
- 30 มีนาคม - โดม เพชรธำรงชัย นักแสดงลูกครึ่งไทย-ออสเตรเลีย
เมษายน
แก้- 8 เมษายน - ชุติวัฒน์ จันเคน สมาชิกวง TPOP BUS
พฤษภาคม
แก้- 2 พฤษภาคม - สุพิชชา ปรีดาเจริญ นักร้อง และนักแสดงชาวไทย
- 8 พฤษภาคม - เจ้าชายมูลัย ฮะซัน มกุฎราชกุมารแห่งโมร็อกโก
มิถุนายน
แก้- 9 มิถุนายน - จักรภัทร วรรธนะสิน (เจ้าขุน) นักร้องชาวไทย
- 25 มิถุนายน - พรชิตา ใหม่โสภา (หมูยอ อาร์สยาม จูเนียร์) นักร้องชาวไทย
กรกฎาคม
แก้- 5 กรกฎาคม - ภูวินทร์ ตั้งศักดิ์ยืน นักแสดงชาวไทย
สิงหาคม
แก้- 24 สิงหาคม - อัสตานิส ปาดรอลา นักฟุตบอลชาวสเปน
กันยายน
แก้- 1 กันยายน - ชนากานต์ มูลสาร (เมอร์ซี่ อาร์สยาม จูเนียร์) นักร้องชาวไทย
ตุลาคม
แก้- 20 ตุลาคม - แพทริค ณัฐวรรธ์ ฟิงค์เลอร์ นักร้อง และนักแสดงลูกครึ่งไทย-เยอรมัน
พฤศจิกายน
แก้- 8 พฤศจิกายน – เลดีลูอีส วินด์เซอร์
- 17 พฤศจิกายน - นภัสธนันท์ นิมจิรวัฒน์ (มายด์) นักแสดงชาวไทย
- 20 พฤศจิกายน - ชรินพร เงินเจริญ (ปิ่น) นักแสดงชาวไทย
- 21 พฤศจิกายน - นิภาดา ขันเงิน (เบลล์) นักร้องชาวไทย
ธันวาคม
แก้- 7 ธันวาคม
- 9 ธันวาคม - พรรณนิภา เขียวเพชร (กระต่าย) นักร้องชาวไทย
- 27 ธันวาคม - เทศน์ เฮนรี ไมรอน นักแสดงและนายแบบลูกครึ่งไทย-บริติช
วันถึงแก่กรรม
แก้- 27 กุมภาพันธ์ – เฟร็ด โรเจอร์ส นักจัดรายการโทรทัศน์ชาวอเมริกัน (เกิด 20 มีนาคม พ.ศ. 2471)
- 4 เมษายน – คำพูน บุญทวี ศิลปินแห่งชาติชาวไทย (เกิด 26 มิถุนายน พ.ศ. 2471)
- 12 มิถุนายน – เกรกอรี เปก นักแสดงชายชาวอเมริกา (เกิด 5 เมษายน พ.ศ. 2459)
- 29 มิถุนายน – แคทารีน เฮปเบิร์น นักแสดงชาวอเมริกา (เกิด 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2450)
- 22 กรกฎาคม – อูเดย์ ฮุสเซน และ คูเซย์ ฮุสเซน บุตรของซัดดัม ฮุสเซน
- 29 สิงหาคม – จำเริญ ทรงกิตรัตน์ นักมวยสากลชาวไทย (เกิด 20 ตุลาคม พ.ศ. 2471)
- 30 สิงหาคม – ชาลส์ บรอนสัน นักแสดงชาวอเมริกา (เกิด 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464)
- 6 พฤศจิกายน – หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล นักวิชาการชาวไทย (ประสูติ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466)
- 7 พฤศจิกายน – ม.ล. จิรายุ นพวงศ์ องคมนตรี (เกิด 16 มิถุนายน พ.ศ. 2455)
- 7 ธันวาคม – รังสี ทัศนพยัคฆ์ ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย (เกิด 1 ธันวาคม พ.ศ. 2469)
- 21 ธันวาคม – เจ้าเครือแก้ว ณ เชียงใหม่ ศิลปินชาวไทย (เกิด 5 มกราคม พ.ศ. 2456)
- 26 ธันวาคม – โยชิโอะ ชิราอิ นักมวยสากลชาวญี่ปุ่น (เกิด 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466)
รางวัล
แก้- สาขาเคมี – Peter Agre, Roderick MacKinnon
- สาขาวรรณกรรม – จอห์น แมกซ์เวล คูตซี
- สาขาสันติภาพ – ชิริน เอบาดี
- สาขาฟิสิกส์ – Alexei Alexeyevich Abrikosov, Vitaly Ginzburg, Anthony James Leggett
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – พอล ลอเทอร์เบอร์, เซอร์ ปีเตอร์ แมนสฟิลด์
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – Robert F. Engle, Clive W.J. Granger
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "A/RES/55/196 - International Year of Freshwater - UN Documents: Gathering a body of global agreements". www.un-documents.net. สืบค้นเมื่อ 2020-09-07.
- ↑ "North Korea withdraws from nuclear treaty". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2003-01-10. สืบค้นเมื่อ 2022-12-14.
- ↑ Mewhinney, Michael (February 25, 2003). "Pioneer 10 Spacecraft Sends Last Signal". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-28. สืบค้นเมื่อ July 1, 2016.
- ↑ Aglionby, John (2003-01-31). "Thais cut links with Cambodia after riots". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-12-14.
- ↑ "The Columbia Space Shuttle Accident". Century of Flight. สืบค้นเมื่อ July 1, 2016.
- ↑ "The History of Serbia and Montenegro". Fact Rover. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-07-19. สืบค้นเมื่อ July 2, 2016.
- ↑ "Millions join global anti-war protests". BBC News. 2003-02-17. สืบค้นเมื่อ 2016-07-01.
- ↑ "Q&A: Sudan's Darfur conflict". BBC News. 2010-02-23. สืบค้นเมื่อ 2016-07-01.
- ↑ "'Iron lady' jailed for Bosnia war crimes". The Guardian. London. 2003-02-27. สืบค้นเมื่อ 2016-07-01.
- ↑ "Malta votes 'yes' to EU membership". CNN. March 9, 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 13, 2003. สืบค้นเมื่อ November 3, 2016.
- ↑ "Djindjic murder suspect arrested". BBC. 2003-03-25. สืบค้นเมื่อ 2016-07-01.
- ↑ "CNN.com - Timeline: SARS outbreak - Apr. 24, 2003". edition.cnn.com. สืบค้นเมื่อ 2016-07-01.
- ↑ 13.0 13.1 Crichton, Kyle; Lamb, Gina; Jacquette, Rogene Fisher. "Timeline of Major Events in the Iraq War". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2016-07-01.
- ↑ Green, Peter S. (2003-03-24). "Slovenia Votes for Membership in European Union and NATO". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2016-07-01.
- ↑ "Hungarians approve EU entry - theage.com.au". www.theage.com.au. April 13, 2003. สืบค้นเมื่อ 2016-07-01.
- ↑ "Human genome finally complete". BBC. 2003-04-14. สืบค้นเมื่อ 2016-07-01.
- ↑ Bamat, Joseph (November 15, 2011). "Timeline: Key dates in DR Congo's turbulent history". France24. สืบค้นเมื่อ July 1, 2016.
- ↑ "Nato takes control of Afghanistan peace mission". The Guardian. Associated Press. 2003-08-11. สืบค้นเมื่อ 2016-07-02.
- ↑ "Mars Opposition in August 2003 - Windows to the Universe". windows2universe.org. สืบค้นเมื่อ 2016-07-02.
- ↑ Malik, Tariq (November 12, 2004). "Europe's First Moon Probe to Enter Lunar Orbit". Space.com. สืบค้นเมื่อ July 2, 2016.
- ↑ "4chan founder 'moot' joins Google. But why?". BBC Newsbeat. March 8, 2016. สืบค้นเมื่อ August 12, 2019.
- ↑ Crean, Ellen (October 5, 2003). "Israel Strikes Base Inside Syria". CBS News. สืบค้นเมื่อ July 2, 2016.
- ↑ "Shenzhou-5 launch: long-cherished dream realized". People. October 15, 2003. สืบค้นเมื่อ July 2, 2016.
- ↑ "Georgian Leader Resigns Amid Peaceful Opposition Standoff". PBS Newshour. November 24, 2003. สืบค้นเมื่อ July 2, 2016.
- ↑ Kreitner, Richard (December 13, 2015). "December 13, 2003: Saddam Hussein Is Captured". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 19, 2016. สืบค้นเมื่อ July 2, 2016.
- ↑ "Libya: Nuclear Program Overview". Nuclear Threat Initiative. สืบค้นเมื่อ July 2, 2016.
- ↑ "Tourism takes its place at United Nations". Kamloops This Week. February 8, 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 16, 2016. สืบค้นเมื่อ July 2, 2016.
- ↑ Society, National Geographic (2014-11-20). "Endangered Sami Language Becomes Extinct". National Geographic Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 21, 2019. สืบค้นเมื่อ 2018-01-12.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ 2003
- 2003 Year in Review - ประมวลเหตุการณ์ในปี ค.ศ. 2003
- 2003 Year-End Google Zeitgeist - เหตุการณ์สำคัญและคำค้นภาษาอังกฤษที่พบบ่อยที่สุดใน ปี ค.ศ. 2003 โดยกูเกิล