พรรครวมไทยยูไนเต็ด

(เปลี่ยนทางจาก พรรคเพื่อไทยพัฒนา)

พรรครวมไทยยูไนเต็ด (อังกฤษ: RUAM THAI UNITED PARTY; อักษรย่อ: รทย.) เป็นอดีตพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งเป็นลำดับที่ 3/2562 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2562 ในชื่อ พรรคเพื่อไทยพัฒนา โดยมี นางสาวอรอนงค์ บุญโต และนาย องอาจ วิเศษ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนแรก พร้อมคณะกรรมการบริหารพรรคอีก 6 คนโดยมีที่ทำการพรรคแห่งแรกอยู่ที่ 74/4 หมู่ 4 ตำบลหมูม่น อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี[2]

พรรครวมไทยยูไนเต็ด
หัวหน้าพงศ์ธร เพชรชาติ (รักษาการ)
รองหัวหน้าอภิรัต ศิรินาวิน
เลขาธิการพงศ์ธร เพชรชาติ
รองเลขาธิการชวลิต เลิศศิริขจร
เหรัญญิกคมจักร จักรพันธ์ ณ อยุธยา
นายทะเบียนสมาชิกธนิต สินศุภสว่าง
โฆษกพิมพ์ญาดา (จักษุรักษ์) เอี่ยมประไพ
กรรมการบริหารพรรค
  • โสมทัต ณ ตะกั่วทุ่ง
  • ภัทรพร ชุติชวาลนันท์
ก่อตั้ง2 มกราคม 2562
ถูกยุบ26 พฤษภาคม 2566 (4 ปี 144 วัน)
ที่ทำการ2/4 ซอยสุขุมวิท 32 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
สมาชิกภาพ  (ปี 2565)7,282 คน[1]
อุดมการณ์
  • ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
  • มุ่งมั่นทำงานการเมืองเพื่อ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน
  • ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างกว้างขวาง เพื่อพัฒนาระบอบประชาธิปไตยให้เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
เว็บไซต์
https://ruamthaiunited.org/
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

ต่อมาในวันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2563 นางสาวอรอนงค์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ[3]

จากนั้นพรรคเพื่อไทยพัฒนาจึงได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 8 คนเมื่อวันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2563 พร้อมกับทำการเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ของพรรค

ในวันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 พรรคเพื่อไทยพัฒนาได้จัดการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ เปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคและโลโก้พรรคเป็น พรรครวมไทยยูไนเต็ด ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนาย วรนัยน์ วานิชกะ เป็นหัวหน้าพรรค นายวินท์ สุธีรชัย เป็นเลขาธิการพรรค[4]

ต่อมาทางพรรครวมไทยยูไนเต็ดได้เปิดตัว นางสาวหทัยรัตน์ วิทยพูม ธนากิจอำนวย ภรรยาของ นาย ธนัตถ์ ธนากิจอำนวย หรือ ไฮโซลูกนัท เป็นว่าที่ผู้สมัคร ส.ก. เขตสวนหลวง และนาย คมจักร จักรพันธุ์ ณ อยุธยา อดีตนักรักบี้ทีมชาติเป็น ว่าที่ผู้สมัคร ส.ก. เขตคลองเตย[5] โดยก่อนหน้านั้นในวันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ทางพรรครวมไทยยูไนเต็ดได้วางตัวให้ นายคมจักร เป็นผู้สมัคร ส.ส. กรุงเทพมหานครของทางพรรค[6]

จากนั้นในวันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2565 พรรครวมไทยยูไนเต็ด ได้เปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ก. อีก 3 เขตคือ นางสาววีรานันท์ สดากรวงศ์วัชร์ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ก. เขตปทุมวัน (ภายหลังย้ายไปลงสมัครในเขตวัฒนา) นางสาวภัทรพร ชุติวาลนันท์ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ก. เขตคลองสาน และ นางสาวณัฐริกา เกื้อเดช ว่าที่ผู้สมัคร ส.ก. เขตบางรัก[7]

ก่อนหน้านั้นในวันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2564 นายวินท์ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นเลขาธิการพรรคและสมาชิกพรรครวมไทยยูไนเต็ด ลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ต่อมานาย ณิชนัจทน์ และ นายปกรณ์ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นกรรมการบริหารพรรคและสมาชิกพรรครวมไทยยูไนเต็ดทำให้เหลือกรรมการบริหารพรรคทั้งสิ้น 6 คน[8] ต่อมาในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 นายวรนัยน์ได้ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรครวมไทยยูไนเต็ดและสมาชิกพรรคทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ[9]

การเลือกตั้ง

แก้

การเลือกตั้ง ส.ส.2562

แก้

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 พรรคเพื่อไทยพัฒนา ได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งทั้งแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตแต่ทางพรรคไม่ได้ ส.ส. เลยแม้แต่ที่นั่งเดียวในสภา

การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร

แก้

พรรครวมไทยยูไนเต็ด ได้ส่งสมาชิกพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร หรือ ส.ก. ในปี 2565 จำนวน 19 คน[10] และมีนโยบายสนับสนุน ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[11] แต่ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าไม่มีผู้สมัครของพรรคได้รับเลือกตั้ง

บุคลากร

แก้

หัวหน้าพรรค

แก้
ลำดับ ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
พรรคเพื่อไทยพัฒนา
1 นางสาวอรอนงค์ บุญโต 2 มกราคม พ.ศ. 2562 8 กันยายน พ.ศ. 2563
พรรครวมไทยยูไนเต็ด
2 นายวรนัยน์ วานิชกะ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2566


เลขาธิการพรรค

แก้
ลำดับ ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
พรรคเพื่อไทยพัฒนา
1 นายองอาจ วิเศษ 2 มกราคม พ.ศ. 2562 8 กันยายน พ.ศ. 2563
2 นายณัฐเวช เศียรอักษร 7 ธันวาคม พ.ศ. 2563 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
พรรครวมไทยยูไนเต็ด
1 นายวินท์ สุธีรชัย 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 17 ธันวาคม พ.ศ. 2564

สิ้นสภาพการเป็นพรรคการเมือง

แก้

วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2566 ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคได้มีมติเลิกพรรค จึงทำให้พรรคสิ้นสภาพการเป็นพรรคการเมือง ต่อมาในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ได้มีประกาศของนายทะเบียนพรรคการเมืองที่ให้พรรครวมไทยยูไนเต็ดสิ้นสภาพการเป็นพรรคการเมืองในราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา[12]

อ้างอิง

แก้
  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2565
  2. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคเพื่อไทยพัฒนา
  3. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยพัฒนา
  4. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรครวมไทยยูไนเต็ด (เดิมชื่อ พรรคเพื่อไทยพัฒนา)
  5. "รวมไทย ยูไนเต็ด" เปิดตัว "เมียไฮโซลูกนัท" ชิง "ส.ก." เขตสวนหลวง
  6. "'รวมไทยยูไนเต็ด' เปิดตัว 'นักรักบี้ทีมชาติ' ชิง ส.ส. กทม". ThaiPost. 2022-02-14.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "'รวมไทยยูไนเต็ด' เปิดตัว 3 สาวนักธุรกิจรุ่นใหม่ ชิงเก้าอี้ ส.ก." ThaiPost. 2022-03-28.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรครวมไทยยูไนเต็ด
  9. “วรนัยน์”โพสต์เตรียมหาสังกัดพรรคใหม่-หลังลาออกหัวหน้ารวมไทยยูไนเต็ด
  10. "'รวมไทยยูไนเต็ด'ดัน'19ผู้สมัครส.ก.'เข้าไปหยุดระบบโกง ทลายล้างหักหัวคิว". naewna.com. 2022-05-15.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "'รวมไทยยูไนเต็ด' ยก 'ชัชชาติ' เป็น 'คนของประชาชน' วอนหยุดปลุกระดมโยงขั้วการเมือง". ThaiPost. 2022-05-20.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. หยู (2023-05-26). "ราชกิจจาฯ แพร่ประกาศกกต. 'พรรครวมไทยยูไนเต็ด' สิ้นสภาพ".

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้