น้ำค้างแข็ง
น้ำค้างแข็ง (อังกฤษ: frost) คือ ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นซึ้งสามารถพบได้ในบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำเกือบถึงจุดเยือกแข็ง เป็นชั้นน้ำแข็งบาง ๆ บนพื้นผิวที่เป็นของแข็งซึ่งก่อตัวจากไอน้ำในบรรยากาศ ที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจุดเยือกแข็งเล็กน้อย ซึ่งสัมผัสกับพื้นผิวของแข็งที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง[1][2] เช่น ยอดหญ้า[3] และส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนสถานะจากไอน้ำ (ก๊าซ) เป็นน้ำแข็ง (ของแข็ง) เมื่อไอน้ำถึงจุดเยือกแข็ง ในสภาพอากาศหนาวเย็นมักปรากฏบนพื้นผิวใกล้พื้นดินเป็นผลึกสีขาวบาง ๆ และเกิดขึ้นได้ในหลายรูปทรง[4] ขึ้นกับการแพร่กระจายของการสร้างผลึกเกิดขึ้นโดยกระบวนการก่อนิวเคลียสผลึก
การเกิดขึ้นของน้ำค้างแข็งคล้ายกับการก่อตัวของน้ำค้างที่อยู่บนยอดหญ้า แต่น้ำค้างเปลี่ยนสถานะจากไอน้ำ (ก๊าซ) เป็น หยดน้ำ (ของเหลว)
ลักษณะ
แก้ลักษณะทั่วไปเป็นเกล็ดหรือผลึกน้ำแข็งสีขาวทึบ เปราะบาง จับตัวอยู่บนยอดหญ้า ใบไม้ หรือวัตุถุของแข็งต่าง ๆ ที่อยู่เหนือพื้นดิน กระบวนการการเกิดปรากฏการณ์น้ำค้างแข็ง มี 2 แบบ[5] คือ
- การเกิดน้ำค้างแข็งโดยตรง จะเกิดในช่วงที่อุณหภูมิของอากาศใกล้ผิวโลกลดต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง
- การเกิดน้ำค้างแข็งโดยอ้อม จะเกิดเมื่ออุณหภูมิของอากาศลดต่ำลงโดยมีปริมาณความชื้นใกล้พื้นดินสูง
-
น้ำค้างแข็ง บนยอดหญ้าในทุ่งของเวเนซุเอลา
-
น้ำค้างแข็งที่เกาะบนดอกไม้
-
ภาพระยะใกล้ของน้ำค้างแข็งบนยอดหญ้า
-
น้ำค้างแข็งบนพื้นหญ้าในมุมกว้าง
-
น้ำค้างแข็งที่เกาะบนใบไม้แห้ง
-
น้ำค้างแข็งบนกระจก แสดงรูปทรงผลึกที่ชัดเจน
อ้างอิง
แก้- ↑ "Frost – Definition of frost by Merriam-Webster". merriam-webster.com. Archived from the original on 2015-05-11.
- ↑ "What causes frost?". Archived from the original on 2007-12-10. Retrieved 2007-12-05.
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์ รู้จัก “น้ำค้างแข็ง-แม่คะนิ้ง”หยาดน้ำฟ้าที่มาพร้อมความหนาว (มาก) สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2563.
- ↑ John E. Oliver (1 January 2005). The Encyclopedia of World Climatology. Springer Science & Business Media. pp. 382–. ISBN 978-1-4020-3264-6. Archived from the original on 8 May 2016.
- ↑ Sanook Guru น้ำค้างแข็ง สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2563.