นาถยา แดงบุหงา (เกิด 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504) ชื่อเล่น กุ๊ก เป็นนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครติดต่อกันสองสมัยสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตนักแสดงและนางแบบ

นาถยา แดงบุหงา
ชื่อเกิดนาถยา แดงบุหงา
ชื่ออื่นนาถยา เบ็ญจศิริวรรณ
เกิด2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 (63 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ส่วนสูง169 เซนติเมตร
คู่สมรสสิรินทร์ เบ็ญจศิริวรรณ
บุตร3 คน
อาชีพ
  • นักแสดง
  • นางแบบ
  • นักการเมือง
  • นักธุรกิจ
ปีที่แสดงพ.ศ. 2526–2556
ผลงานเด่นคุณหญิงกีรติข้างหลังภาพ (2528)
ชิดชบาไม่สิ้นไร้ไฟสวาท (2529)
ดวงใจแหวนทองเหลือง (2529)
รางวัล
พระสุรัสวดีผู้แสดงฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2529 – ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท
โทรทัศน์ทองคำดารานำหญิงดีเด่น
พ.ศ. 2529 – คนมีคาว
เมขลานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2529 – แหวนทองเหลือง

ประวัติ

แก้

นาถยาเกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นลูกคนที่ 7 ในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 9 คน มีพี่สาวฝาแฝดหนึ่งคน นับถือศาสนาอิสลาม (มีชื่อภาษาอาหรับว่า ฮัจญะ อัสมะฮ์) จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนสตรีประเทืองวิทย์และโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ปริญญาตรีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ชีวิตส่วนตัว

แก้

นาถยา แดงบุหงา แต่งงานกับนายสิรินทร์ เบ็ญจศิริวรรณ สามีนักธุรกิจ โดยที่นาถยาได้ช่วยงานธุรกิจของสามีมาตลอด ซึ่งเป็นธุรกิจประเภทอสังหาริมทรัพย์ พร้อม ๆ กับทำกิจกรรมทางสังคม โดยนาถยา และสามีมีบุตรสาวด้วยกัน 3 คน ได้แก่ เกรซ สิรินศิญาห์ เบ็ญจศิริวรรณ, กิฟท์ สิชานาถ เบ็ญจศิริวรรณ, กีกี้ สิตานัน เบ็ญจศิริวรรณ

วงการบันเทิง

แก้

เข้าสู่วงการบันเทิงตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัยด้วยการชักชวนของอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย เริ่มต้นด้วยการถ่ายแบบ และเป็นพิธีกรรายการเปิดใจดารา ทางช่อง 7 จากนั้นจึงได้รับการชักชวนจากกัณฑรีย์ ณ สิมะเสถียร ให้มาแสดงละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ โดยผลงานที่สร้างชื่อ ได้แก่ ข้างหลังภาพ จากการกำกับของเปี๊ยก โปสเตอร์ ในปี พ.ศ. 2528

จากนั้นจึงได้แสดงในภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น หย่าเพราะมีชู้, เกมมหาโชค เป็นต้น ผลงานละครโทรทัศน์ก็ได้แก่ สงครามปาก, มัจจุราชจำแลง, คนมีคาว, วิมานไม้ฉำฉา, บ้านศิลาทราย เป็นต้น

นาถยา แดงบุหงา ได้ฉายาว่า "เจ้าแม่พรีเซ็นเตอร์" เพราะมักเป็นพรีเซ็นเตอร์โฆษณาสินค้าหลายชิ้น และมีค่าตัวในราคาที่สูง ในระหว่างที่มีชื่อเสียงได้แสดงประกบคู่กับดาราชายหลายคน เช่น สรพงศ์ ชาตรี, ยุรนันท์ ภมรมนตรี,ปัญญา นิรันดร์กุล, อนันต์ บุนนาค, ลิขิต เอกมงคล, พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง, สุรศักดิ์ วงษ์ไทย, ธงไชย แมคอินไตย์, อำพล ลำพูน, บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์, สันติสุข พรหมศิริ, ยุทธนา แสนเสน่ห์, อภิชาติ หาลำเจียก, เกรียงไกร อุณหะนันทน์ เป็นต้น โดยเฉพาะกับอำพลเคยคบหากันอยู่ด้วยช่วงหนึ่ง

นักแสดงชายในวงการที่นับเป็นคู่ขวัญทางการแสดงของนาถยา คือ ยุรนันท์ ภมรมนตรี โดยทั้งสองเคยมีโอกาสแสดงละครโทรทัศน์ร่วมกัน (ไม่ได้คู่กัน) ในช่วงที่ยังไม่โด่งดัง แต่หลังจากภาพยนตร์ ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท ในปี พ.ศ. 2529 ทำให้นาถยา ยุรนันท์ เป็นพระนางคู่ขวัญอีกคู่หนึ่งของวงการ และมีผลงานแสดงคู่กันตามมาอีกหลายเรื่อง โดยมักเป็นภาพยนตร์แนวตบจูบชิงรักหักสวาท

หลังจากละครเรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ ทางช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2532 ที่รับบทเป็น ตะละแม่จันทรา แล้ว นาถยา ก็ผ่อนบทบาทการแสดงลง ด้วยการหันไปประกอบธุรกิจส่วนตัว และได้แต่งงานกับนายสิรินทร์ เบ็ญจศิริวรรณ สามีนักธุรกิจ โดยที่นาถยาได้ช่วยงานธุรกิจของสามีมาตลอด ซึ่งเป็นธุรกิจประเภทอสังหาริมทรัพย์ พร้อม ๆ กับทำกิจกรรมทางสังคม โดยนาถยา และสามีมีบุตรสาวด้วยกัน 3 คน ได้แก่ เกรซ สิรินศิญาห์ เบ็ญจศิริวรรณ, กิฟท์ สิชานาถ เบ็ญจศิริวรรณ, กีกี้ สิตานัน เบ็ญจศิริวรรณ

งานการเมือง

แก้

ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี พ.ศ. 2548 นาถยาได้ลงรับสมัครเลือกตั้งในเขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่มิได้รับการเลือกตั้ง

ในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 นาถยา ลงรับเลือกตั้งสังกัดพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง ในเขตเลือกตั้งที่ 7 กรุงเทพมหานคร (ลาดพร้าว วังทองหลาง บางกะปิ บึงกุ่ม สะพานสูง) คู่กับ นายประพันธ์ คูณมี และ นายสำราญ รอดเพชร ซึ่งนาถยาได้รับเลือกตั้งไปเพียงคนเดียวในทีม ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัคร ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 21 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งอีกหนึ่งสมัย

ในวันที่ 24 ธันวาคม 2564 นาถยาได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์และย้ายไปสังกัดพรรคไทยสร้างไทย[1]รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค[2] ก่อนจะลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2565[3] และได้ย้ายมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และลงรับสมัครในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 แต่มิได้รับการเลือกตั้ง

ผลงาน

แก้

ภาพยนตร์

แก้

โฆษณา

แก้
  • แชมพูแพนทีน
  • แป้งลักส์
  • ครีบบำรุงผิวหน้าพอนดส์
  • ผ้าอนามัย โมเดส
  • ครีมขจัดฝ้า เลอรัว
  • ยาสระผมซิลเวอร์เบลล์
  • จักรยานยนต์คาวาซากิ
  • แป้งพัฟนาทริฟ

ละครโทรทัศน์

แก้

ปี 2526

แก้
  • อีแตน (ช่อง 3) มยุรา/อนุสรณ์/อดุลย์/วิยะดา/นาถยา
  • วงเวียนชีวิต (ช่อง 5) ชลิต/รัชนู/นาถยา
  • เขยบ้านนอก (ช่อง 5) นิรุตติ์/มยุรา/กัณฑรีย์/นาถยา

ปี 2527

แก้
  • ความรักสีดำ (ช่อง 3)
  • เมื่อรักร้าว (ช่อง 9) ยุรนันท์/มยุรา/ธงไชย/นาถยา/รัตนาภรณ์/สมควร
  • ทัดดาวบุษยา (ช่อง 5) ยุรนันท์/อาภาพร/นาถยา/ดิลก/ปาริฉัตร/เปียทิพย์
  • วงเวียนหัวใจ (ช่อง 9) ธงไชย/ธิติมา/นาถยา/เอกลักษณ์/พรพรรณ/สมควร

ปี 2528

แก้
  • สงครามปาก (ช่อง 3)
  • ระเบียงรัก (ช่อง 9) ธงไชย/นาถยา/นิภาพร/กาญจนา

ปี 2529

แก้
  • เงื้อมมือมาร (ช่อง 3)
  • มัจจุราชจำแลง (ช่อง 5)
  • แหวนทองเหลือง (ช่อง 7) อภิชาติ/นาถยา/นาท/เยาวเรศ/อัศวิน
  • คนมีคาว (ช่อง 3) นพพล/นาถยา

ปี 2530

แก้
  • วิมานไม้ฉำฉา (ช่อง 3)
  • พิศวาสดำ (ช่อง 3) นพพล/นาถยา/อดุลย์/ปาหนัน

ปี 2531

แก้
  • วีรบุรุษนาแก (ช่อง 3)
  • ระบำไฟ (ช่อง 3/รับเชิญ) ตฤณ/หทัยรัตน์/นาถยา/นพพล/แสงระวี/ส.อาสนจินดา/กำธร/วิวัฒน์/เมตตา/ราม/ธิติมา/ศิริ
  • สามอนงค์ (ช่อง 3)
  • คมพยาบาท (ช่อง 5) นพพล/นาถยา/เนาวรัตน์/ชไมพร/ชัยรัตน์

ปี 2532

แก้
  • แดนสนธยา ตอน หน้ากาก (ช่อง 9) อนันต์/นาถยา
  • ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (ช่อง 3) ศรัณยู/นาถยา
  • ตะกายดาว ตอน ด๊าวดาว (ช่อง 9) เศรษฐา/เพ็ญพักตร์/พิสัย/วสันต์/นาถยา
  • ทางสายทาส (ช่อง 3)
  • กลิ่นร่ำ (ช่อง 3)
  • ผู้ชนะสิบทิศ (ช่อง 3) สันติสุข/สินจัย/นาถยา/วรรณิศา/ธัญญา/ไตรภพ/เพ็ญพักตร์/ชลประคัลภ์/สุเชาว์/ส. อาสนจินดา/จุรี/สมควร

ปี 2533

แก้
  • เมื่อรักร้าว (ช่อง 5) นพพล/อนันต์/นาถยา/พิศมัย
  • สามอนงค์ (ช่อง 3)
  • สายใจ (ช่อง 3)

ปี 2535

แก้
  • ไฟรักอสูร (ช่อง 3) พงษ์พัฒน์/นาถยา/ปัทมา/อัญชลี/พิศมัย/ส. อาสนจินดา

ปี 2539

แก้
  • ปานตะวัน (ช่อง 3)
  • ชีวิตเหมือนฝัน (ช่อง 3) (2539-40) ยุรนันท์/นาถยา/ธัญญาเรศ/พิศมัย/ไพโรจน์/พูนสวัสดิ์/วรรษมน/ปัทมา

ปี 2541

แก้

ปี 2553

แก้
  • สามหัวใจ (ช่อง 3)
  • อุมมี สวรรค์อยู่ใต้ฝ่าเท้ามารดา (ช่อง 9)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 'นาถยา แดงบุหงา' ลาออกพ้น ปชป. ซบพรรคคุณหญิงหน่อย
  2. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคไทยสร้างไทย
  3. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคไทยสร้างไทย
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๗๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๓๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒