ธรรมนัส พรหมเผ่า
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า[a] (เกิด 18 สิงหาคม พ.ศ. 2508) ชื่อเล่น ตุ๋ย เป็นทหารบกและนักการเมืองชาวไทย ผู้นำกลุ่มธรรมนัส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา เขต 1 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน อดีตเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ อดีตหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาเป็นผู้แก้ปัญหาทางการเมืองให้แก่รัฐบาลทหาร[5] และเขาเคยเรียกตนเองว่าเป็นเส้นเลือดสำคัญในรัฐบาลผสม[6]
ธรรมนัส พรหมเผ่า | |
---|---|
ธรรมนัส ในปี พ.ศ. 2563 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 3 กันยายน พ.ศ. 2567 (1 ปี 2 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน |
รัฐมนตรีช่วย | ไชยา พรหมา (2566 – 2567) อนุชา นาคาศัย (2566 – 2567) อรรถกร ศิริลัทธยากร (2567) |
ก่อนหน้า | เฉลิมชัย ศรีอ่อน |
ถัดไป | นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 8 กันยายน พ.ศ. 2564 (2 ปี 60 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
รัฐมนตรีว่าการ | เฉลิมชัย ศรีอ่อน |
ก่อนหน้า | ลักษณ์ วจนานวัช วิวัฒน์ ศัลยกำธร |
ถัดไป | สุนทร ปานแสงทอง |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพะเยา เขต 1 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 (5 ปี 278 วัน) | |
ก่อนหน้า | อรุณี ชำนาญยา |
เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ | |
ดำรงตำแหน่ง 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 – 3 กันยายน พ.ศ. 2567 (1 ปี 36 วัน) | |
ก่อนหน้า | สันติ พร้อมพัฒน์ |
ถัดไป | ไพบูลย์ นิติตะวัน |
ดำรงตำแหน่ง 18 มิถุนายน พ.ศ. 2564 – 19 มกราคม พ.ศ. 2565 (0 ปี 215 วัน) | |
ก่อนหน้า | อนุชา นาคาศัย |
ถัดไป | สันติ พร้อมพัฒน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 สิงหาคม พ.ศ. 2508 อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2542–2550) เพื่อไทย (2551–2561) พลังประชารัฐ (2561–2565, 2566–2567)[1] กล้าธรรม (2565–2566,2567-ปัจจุบัน) |
คู่อาศัย | ธนพร ศรีวิราช[2] |
คู่สมรส | อริสรา พรหมเผ่า[2] |
บุตร | 7 คน (รวมบุตรนอกสมรส)[2] |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 25 |
ทรัพย์สินสุทธิ | 866 ล้านบาท (พ.ศ. 2562) |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ยศ | ร้อยเอก[3] |
ถูกกล่าวหา | สมคบกันนำเฮโรอีนเข้าประเทศออสเตรเลีย |
รับโทษ | จำคุก 6 ปี (ลงโทษจริง 4 ปี) |
สถานะทางคดี | รับโทษแล้ว |
ประวัติ
ธรรมนัสเกิดเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2508 มีชื่อเล่นว่า ตุ๋ย หรือ ผู้กองธรรมนัส ที่อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 25 (รวมเหล่ารุ่นที่ 2) ปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 36 รุ่นเดียวกับพลเอกร่มเกล้า ธุวธรรม[7] ปริญญาโทพุทธศาสนมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พระพุทธศาสนา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาเอกปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เอฟซีอี ประเทศสหรัฐ[8] วุฒิการศึกษาปริญญาเอกของ ร.อ.ธรรมนัส ทำให้สังคมเกิดข้อกังขา โดยที่มี CSI LA เป็นผู้เปิดประเด็นว่า เป็นของปลอม โดยระบุว่า มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียไม่มีอยู่จริง แต่เป็นมหาวิทยาลัยปรากฏอยู่ในประกาศนียบัตรปลอมที่มีกลุ่มรับทำที่ฟิลิปปินส์ และหากจะมีชื่อที่ใกล้เคียงคือ California University FCE[9] ซึ่งเป็นสถานรับเลี้ยงเด็ก มีลักษณะเป็นมูลนิธิที่ช่วยเหลือคนยากจน[10]
ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ได้นำวุฒิการศึกษา วิทยานิพนธ์ และใบปริญญาดุษฎีบัณฑิตมาแสดงแก่สื่อมวลชน เมื่อวันที่ 12 กันยายนเพื่อยืนยันว่าตนจบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า [8]ในการศึกษาระดับปริญญาเอก ธรรมนัสได้ทำวิทยานิพนธ์ชื่อ "The Forms of the Local Performance Development and Promotion with Image and Identity in Order to Increase the Value Added and Value Creation: A Case Study of Phayao Province." (รูปแบบของการพัฒนาศักยภาพท้องถิ่นและการส่งเสริมภาพลักษณ์รวมถึงอัตลักษณ์เพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณค่าเชิงการสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาจังหวัดพะเยา) ร่วมกับคณะอีก 4 คน เผยแพร่ในเว็บไซต์วารสารงานวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งยุโรป (European Journal of Scientific Research) เมื่อปี พ.ศ. 2557[11]
หลังจากที่สื่อมวลชนและผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์บางส่วนตั้งข้อสงสัยว่า วุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอกของ ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า บีบีซีไทยได้ตรวจสอบบทความวิชาการของ ร.อ. ธรรมนัส ซึ่งเป็นผลงานส่วนหนึ่งที่ใช้ยื่นขอจบการศึกษากับมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ยูนิเวอร์ซิตี เอฟซีอี เพิ่มเติม และพบว่ามีข้อความที่ตรงกับวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท สาขาการตลาด ของ ดร. ยานนิกา นีมาน (Jannica Nyman) อยู่นับสิบจุด เธอเปิดเผยกับบีบีซีไทยผ่านทางอีเมลว่า "ฉันไม่รู้มาก่อนว่าวิทยานิพนธ์ของฉันถูกลอกเลียน"[12]
ก่อนหน้าที่จะเป็นนักการเมือง ธรรมนัสเคยเป็นประธานกรรมการบริษัทในเครือธรรมนัสกรุ๊ป[7] ดำเนินธุรกิจหลากหลาย ที่สำคัญคือการถือหุ้นใน บจก.รักษาความปลอดภัย ที.พี.การ์ด ซึ่งมีพลเอกไตรรงค์ อินทรทัต อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เป็นหนึ่งในกรรมการบริษัท[13] และ หจก.ขวัญฤดี ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวแทนจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลรายใหญ่[14] นอกจากนี้ธรรมนัสยังเคยเป็นประธานสโมสรฟุตบอลจังหวัดพะเยาอีกด้วย[15]
งานการเมือง
ธรรมนัสเริ่มงานการเมืองกับพรรคไทยรักไทยเมื่อปี พ.ศ. 2542 ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 ได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย[16] แต่การเลือกตั้งดังกล่าวเป็นโมฆะ[17] ต่อมาเมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติเข้ายึดอำนาจ เขาเป็นหนึ่งในบุคคลที่ คสช. มีคำสั่งเรียกมารายงานตัว[18] ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 ธรรมนัสได้เข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ โดยได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการยุทธศาสตร์ภาคเหนือของพรรค และในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา เขต 1 และได้รับการเลือกตั้ง โดยเอาชนะอรุณี ชำนาญยา เจ้าของพื้นที่เดิมจากพรรคเพื่อไทย[19] ต่อมาในปี พ.ศ. 2564 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ
ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2565 คณะกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐมีมติขับเขา และ ส.ส. อีก 21 คน ออกจากพรรค[20] และในวันที่ 10 มิถุนายน ปีเดียวกัน เขาได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกพรรคเศรษฐกิจไทย ให้เป็นหัวหน้าพรรค[21] สืบต่อจากพลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ที่ลาออกไปก่อนหน้านั้น[22]
เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เขาได้กลับเข้าพรรคพลังประชารัฐ[23] จากนั้นในการเลือกตั้งใหญ่ในเดือนพฤษภาคม สองเดือนต่อมาเขาได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรคให้กลับเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการพรรคเป็นครั้งที่สอง[24] หลังจากนั้นในวันที่ 1 กันยายนปีเดียวกัน เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[25] สามวันถัดมาเขาลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อแก้ปัญหาราคามังคุดตกต่ำ[26]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2567 ภายใต้รัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร ธรรมนัส นำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคพลังประชารัฐจำนวนหนึ่งแยกตัวออกมาจากพรรค และแถลงขอร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย หลังลงมติเห็นชอบให้แพทองธารเป็นนายกรัฐมนตรี แตไม่ได้รับเลือกเป็นรัฐมนตรีในโควต้าของพรรคพลังประชารัฐ จึงขอแยกทางกับ ประวิตร วงษ์สุวรรณ[27][28][29] อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นเขาไม่ส่งชื่อตนเองเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลของแพทองธาร เนื่องจากตนมีความกังวลเรื่องจริยธรรมจากคดียาเสพติด[30] โดยส่งชื่ออัครา พรหมเผ่า น้องชายของเขา, นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ หัวหน้าพรรคกล้าธรรม และอิทธิ ศิริลัทธยากร อดีต สส.ฉะเชิงเทราแทน[31] ต่อมาในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2567 ธรรมนัสได้ตัดสินใจยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นเลขาธิการพรรคพร้อมกับกรรมการบริหารพรรคในกลุ่มอีก 5 คน ก่อนจะมีการประชุมใหญ่สามัญในวันที่ 6 กันยายน[32]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ธรรมนัส พรหมเผ่า ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดพะเยา สังกัดพรรคพลังประชารัฐ → พรรคเศรษฐกิจไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดพะเยา สังกัดพรรคพลังประชารัฐ → พรรคกล้าธรรม
ชีวิตส่วนตัว
สมรสกับนางอริสรา (หรือธนสร) พรหมเผ่า และใช้ชีวิตคู่ร่วมกับธนพร ศรีวิราช เหรัญญิกพรรคเศรษฐกิจไทย และ นางสาวไทยประจำปี 2559 มีบุตร 7 คน ก่อนดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีมีทรัพย์สินรวม 866 ล้านบาท[2][33] และหลังพ้นจากตำแหน่งมีทรัพย์สินรวม 702.92 ล้านบาท[34]
ในเดือนมีนาคม 2564 เขาได้รับพระราชทานกระเช้าของขวัญจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[35]
กระแสวิพากษ์วิจารณ์
การถอดยศ
เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2541 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ถอดยศ ร้อยโท พชร พรหมเผ่า (ชื่อในขณะนั้น) เนื่องจากประพฤติตนไม่เหมาะสมตามพระราชบัญญัติวินัยทหาร พุทธศักราช 2476 ซึ่งต่อมาในโลกโซเชียลต่างแชร์พระบรมราชโองการดังกล่าว ซึ่งต่อมานายชวน หลีกภัย ซึ่งเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในขณะนั้น ได้ให้ความเห็นว่า ส่วนนั้นก็เป็นไปตามระบบราชการ สามารถไปดูข้อมูลย้อนหลังได้ว่ามีการประกาศพระบรมราชโองการว่าอย่างไร[36] โดยก่อนหน้านั้น ธรรมนัสเคยถูกปลดออกจากราชการในปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา และในปี พ.ศ. 2536 เนื่องจากหนีราชการในเวลาประจำการ แต่ธรรมนัสก็ทำเรื่องขอกลับเข้ารับราชการใหม่ทั้งสองครั้ง[4]
วุฒิการศึกษา
เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562 เฟซบุ๊กเพจ "CSI LA" ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับวุฒิการศึกษาของธรรมนัส ซึ่งระบุในเว็บไซต์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรว่า สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เอฟซีอี ว่าแท้จริง ธรรมนัสสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนานาชาติคาลามัส (Calamus International University) ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้รับการยอมรับวุฒิการศึกษาในหลายประเทศ ด้านธรรมนัสได้นำหลักฐานมาแสดงเพื่อตอบโต้[37][38] นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่าเว็บไซต์ที่เผยแพร่วิทยานิพนธ์ของธรรมนัสและคณะนั้น ถูกระบุว่าเป็นสำนักพิมพ์ที่เปิดเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยการเก็บค่าตีพิมพ์จากผู้เขียน โดยไม่ได้ให้บริการในการแก้ไขและตีพิมพ์ตามหลักของวารสารวิชาการ[11] และเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ฉบับดังกล่าว อาจเข้าข่ายการคัดลอกงานวิชาการ[39]
คนใกล้ชิดกักตุนหน้ากากอนามัย
คนใกล้ชิดของธรรมนัสเกี่ยวข้องกับการกักตุนหน้ากากอนามัยระหว่างการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย แม้ตัวผู้ช่วยคนดังกล่าวจะแถลงต่อสื่อว่าเขาไม่รู้จักกับศรสุวีร์ ภู่รวีรรัศวัชรี ซึ่งอ้างว่ากักตุนหน้ากากอนามัยไว้ขายหลายล้านชิ้น แม้มีภาพถ่ายออกมาว่าทั้งสองพบกัน[40]
แต่งตั้งคู่ชีวิตเป็นข้าราชการ
วันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 ธนพร ศรีวิราช อดีตนางสาวไทย คู่ชีวิตของธรรมนัส ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[41]
คดีนำยาเสพติดเข้าประเทศออสเตรเลีย
เอกสารทางการออสเตรเลียระบุว่าธรรมนัสขณะใช้ชื่อเดิมถูกพิพากษาจำคุกฐานนำเฮโรอีนน้ำหนัก 3.2 กิโลกรัมเข้าประเทศออสเตรเลียกับพวกรวม 4 คนเมื่อปี 2536 มีคำพิพากษาในปี 2537 จากนั้นถูกปล่อยตัวหลังรวมเวลาจำคุกได้ 4 ปีและเนรเทศออกนอกประเทศ ศาลยังระบุว่าเป็นผู้มีความใกล้ชิดกับผู้จัดหาเฮโรอีนในประเทศไทยในการลักลอบนำเข้าประเทศออสเตรเลียด้วย[42] ในปี 2564 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าธรรมนัสรับว่าตนได้กระทำผิดตามคำพิพากษาของศาลออสเตรเลียจริง แต่สมาชิกภาพ ส.ส. และความเป็นรัฐมนตรีไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ โดยอ้างหลักอธิปไตยทางศาลและหลักต่างตอบแทน[43]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[44]
- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[45]
เชิงอรรถ
ดูเพิ่มเติม
อ้างอิง
- ↑ "ธรรมนัส" ประกาศอิสรภาพ "ผมพอแล้ว" หลัง "บิ๊กป้อม" ปูดชื่อคนหลุด รมต. (คลิป)
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "'ธรรมนัส'แจ้ง ป.ป.ช. เมีย 2 คน 'อริสรา - น้องจุ๊บจิ๊บ' - รายได้ขายหวยเดือนละ 3 ล." สำนักข่าวอิศรา. 22 August 2019. สืบค้นเมื่อ 10 November 2020.
- ↑ เปิดคำสั่งกลาโหม 360/2541 แต่งตั้ง "ร้อยเอกธรรมนัส" มติชนออนไลน์ วันที่ 16 กันยายน 2562 - 08:31 น. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2562 - 16:50
- ↑ 4.0 4.1 ธรรมนัส : ค้นราชกิจจาฯ เฟ้นหาแฟ้มข่าว สาวเส้นทาง ขึ้น-ลง แกนนำสำคัญของพรรคพลังประชารัฐ บีบีซีไทย
- ↑ "Australian report challenges Thamanat's claims". Bangkok Post. 12 September 2019. สืบค้นเมื่อ 13 September 2019.
- ↑ "Thai Opposition Calls on Cabinet Member to Clear His Name". The New York Times. Reuters. 10 September 2019. สืบค้นเมื่อ 13 September 2019.
- ↑ 7.0 7.1 เสธ.แดง” VS “ผู้กองมนัส”
- ↑ 8.0 8.1 ธรรมนัส หอบหลักฐานชี้แจงวุฒิดอกเตอร์
- ↑ ธรรมนัส: มารู้จัก "มหาวิทยาลัย" ของ "ดอกเตอร์" และวารสารที่ตีพิมพ์ "ผลงาน" ของเขา
- ↑ กระแสข่าวกรณีธรรมนัส คดีค้ายา-ด็อกเตอร์ปลอม โจมตีหรือเปิดโปงความจริง
- ↑ 11.0 11.1 เปิดโฉมเว็บไซต์วารสารเผยแพร่ ‘ธีสิส’ ป.เอก ธรรมนัส เสธ.แดง” VS “ผู้กองมนัส”
- ↑ ธรรมนัส : ดอกเตอร์จากฟินแลนด์นึกว่า "เป็นเรื่องล้อเล่น" หลังบีบีซีไทยถามเรื่องข้อกล่าวหา รมช. ไทย ลอกเลียนวิทยานิพนธ์
- ↑ พล.อ.ไตรรงค์ ในธุรกิจรักษาความปลอดภัย ‘ธรรมนัส’
- ↑ "ร.อ.ธรรมนัส" ทุ่ม 374 ล. ค้ำแลกโควตาหวยรัฐ ทำรายได้แค่ปีละ 9 ล้าน?
- ↑ ช็อก!พะเยาพักทีม 2 ปีเริ่มต้นใหม่ที 4
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๐ ก หน้า ๖๙, ๑๗ มกราคม ๒๕๕๗
- ↑ ปูมหลัง "ธรรมนัส" ชีวิตสุดโชกโชน อดีตทหาร ถูกมองมาเฟีย สู่สายเคลียร์ สลายก๊ก
- ↑ เบื้องลึก! เรียก'ขาใหญ่' คนมีสี รายงานตัว
- ↑ คนนี้ใครกัน! “ผู้กองมนัส” คีย์แมนสำคัญ ‘รบ.บิ๊กตู่’ เคยโดนถอดยศ สู่ ท่านว่าที่ รมต.
- ↑ "เปิดรายชื่อ21ส.ส.สังกัด "ธรรมนัส" ถูกมติกก.บห."พลังประชารัฐ"ขับออก". เดลินิวส์.
- ↑ "ไม่มีพลิก! "ธรรมนัส" ผงาดหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย "ไผ่ ลิกค์" นั่งเลขาธิการ". www.sanook.com/news.
- ↑ ""บิ๊กน้อย" พล.อ.วิชญ์ ประกาศลาออก "หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย"". bangkokbiznews. 2022-05-24.
- ↑ "'ธรรมนัส' เตรียมเข้า 'พลังประชารัฐ' ก่อน 7 ก.พ.นี้ ไม่ขอรับตำแหน่งในพรรค". workpointTODAY.
- ↑ "เปิดรายชื่อ 21 กก.บห.ชุดใหม่ พปชร. "ประวิตร" หัวหน้า - "ธรรมนัส" เลขาฯพรรค". Thai PBS.
- ↑ "ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (พิเศษ 214 ง): 1–3. 2023-09-02. สืบค้นเมื่อ 2023-09-02.
- ↑ "'ธรรมนัส'ลงพื้นที่เมืองคอน ลุยแก้ปัญหามังคุดตกต่ำ แฉรู้ข้อมูลเบื้องลึกโยงทุบราคา". naewna.com. 2023-09-04.
- ↑ ""ธรรมนัส" เปิดใจแยกทาง "ประวิตร" นำ 29 สส.พลังประชารัฐถอย". Thai PBS.
- ↑ "ด่วน!! ธรรมนัส ประกาศตัวเป็นอิสรภาพ บอกรับใช้ ลุงป้อม มามากพอแล้ว". อมรินทร์ทีวี เอชดี ช่อง 34 - AMARIN TV HD. 2024-08-20.
- ↑ "เช็กชื่อ 26 สส. "กลุ่มธรรมนัส" ลอยแพบิ๊กป้อม". Thai PBS.
- ↑ ""ธรรมนัส"โค่นลุงป้อม ส่ง"อัครา-นฤมล" คั่วเก้าอี้ รมว.เกษตรฯ ". mgronline.com. 2024-08-21.
- ↑ "เทรนด์นิยม! ธรรมนัสส่ง 'อิทธิ' พ่อ 'อรรถกร' นั่ง รมช.เกษตรฯ แทน". ไทยโพสต์. 28 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'ธรรมนัส' ยกก๊วนไขก๊อก กก.บห.พลังประชารัฐ 'ไพบูลย์' จ่อนั่งเลขาธิการพรรค". ไทยโพสต์. 4 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ เปิดหลังบ้านรัฐมนตรี สุภาพสตรีโปรไฟล์แน่น ยังสาว ยังสวย และยังแซ่บ
- ↑ เปิดเซฟ ‘ธรรมนัส’ หลังพ้นตำแหน่ง รมต. 702.92 ล้าน เมีย 2-ลูก 7 บ้าน รถ ที่ดิน เครื่องเพชร เพียบ!
- ↑ "ในหลวงพระราชทานกระเช้าของขวัญแก่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า". ผู้จัดการออนไลน์. 8 March 2021.
- ↑ “ชวน” แจงวุ่น หลังแชร์ว่อน เป็นผู้รับสนองฯ ปมถอดยศ “ธรรมนัส พรหมเผ่า”
- ↑ ธรรมนัส โชว์งานวิจัยพร้อมใบประกาศ ยันจบปริญญาเอกจากสหรัฐฯ
- ↑ เปิดคำแปล ‘คำต่อคำ’ ใบปริญญาเอก ‘ธรรมนัส’
- ↑ ธรรมนัส พรหมเผ่า : บทความวิชาการของ "ดอกเตอร์" มีข้อความหลายส่วนตรงกับผลงานปริญญาเอกของนักศึกษาในฟินแลนด์
- ↑ Rojanaphruk, Pravit (9 March 2020). "Minister's aide accused of hoarding, selling millions of masks to China". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 9 March 2020.
- ↑ "ครม.เห็นชอบตั้ง "ธนพร ศรีวิราช" นั่งข้าราชการการเมือง". Thai PBS. 10 November 2020. สืบค้นเมื่อ 10 November 2020.
- ↑ "EXCLUSIVE: บีบีซีไทยไปเปิดบันทึกดักฟังตำรวจ-คำพิพากษาคดี ธรรมนัส จากศาลในออสเตรเลีย". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 5 May 2021.
- ↑ "มติศาลรัฐธรรมนูญ ร.อ. ธรรมนัสคงสถานะ ส.ส.-รมต". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 5 May 2021.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
แหล่งข้อมูลอื่น
ก่อนหน้า | ธรรมนัส พรหมเผ่า | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เฉลิมชัย ศรีอ่อน | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ครม. 63) (1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 3 กันยายน พ.ศ. 2567) |
นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ | ||
ลักษณ์ วจนานวัช วิวัฒน์ ศัลยกำธร |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ครม. 62) (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 8 กันยายน พ.ศ. 2564) |
สุนทร ปานแสงทอง | ||
สันติ พร้อมพัฒน์ | เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (29 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 – 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567) |
ไพบูลย์ นิติตะวัน | ||
อนุชา นาคาศัย | เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (18 มิถุนายน พ.ศ. 2564 – 19 มกราคม พ.ศ. 2565) |
สันติ พร้อมพัฒน์ |