จุลพันธ์ โนนศรีชัย
จุลพันธ์ โนนศรีชัย (เกิด 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่ ปัจจุบันสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา
จุลพันธ์ โนนศรีชัย | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | อนาคตใหม่ (2561–2563) ชาติไทยพัฒนา (2563–ปัจจุบัน) |
ประวัติ
แก้จุลพันธ์ โนนศรีชัย เกิดเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 อาศัยอยู่ที่ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่[1] เขาจบการศึกษาระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต (การเงิน) จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจ) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จุลพันธ์ ประสบอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์บิ๊กไบท์ทำให้สูญเสียขาซ้าย และใช้ขาเทียมในการเดินปกติ
การทำงาน
แก้จุลพันธ์ โนนศรีชัย เคยทำงานในองค์การคลังสินค้า ในตำแหน่งรองผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า และเขาทำธุรกิจเปิดร้านอาหาร รวมถึงการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์[2] ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 52 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก เป็นลำดับสุดท้ายที่ได้รับเลือกตั้งจากจำนวน 50 ที่นั่งของพรรคอนาคตใหม่ ต่อมาเมื่อพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบพรรค เขาจึงย้ายไปสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา[3]
จุลพันธ์ ถูกกล่าวถึงทางสื่อมวลชนเมื่อมีภาพการสวมกางเกงขาขั้นเข้าร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎร และต่อมาเขาเปิดเผยว่าได้ขออนุญาตประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้ว เนื่องจากตนเป็นผู้พิการต้องใส่ขาเทียม และไม่สะดวก[4][5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[6]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติ จุลพันธ์ โนนศรีชัย
- ↑ จากชีวิตโลดโผนสู่เส้นทางการเมืองรัฐสภาของจุลพันธ์ โนนศรีชัย
- ↑ อดีต อนค.“จุลพันธ์ โนนศรีชัย” สังกัด ชทพ.เรียบร้อย หลังชำระค่าสมาชิก
- ↑ ส.ส. อนาคตใหม่ แจง "จุลพันธ์" สวมขาสั้นร่วมประชุมสภา
- ↑ ส.ส.สวมขาสั้นประชุมสภา แจง "ชวน" อนุญาตแล้ว
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๙, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔