จำรัส สุวคนธ์ (พ.ศ. 2450/51-พ.ศ. 2487) เป็นดาราชายชาวไทยผู้มีชื่อเสียงในฐานะพระเอกชั้นนำ ของ บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง จำกัด ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 รวม 6 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2479 - 2485

จำรัส สุวคนธ์
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิดพ.ศ. 2450-2451
จำรัส สุวคนธ์
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิตพ.ศ. 2487 (อายุ 36-37 ปี)
อาชีพนักแสดง, นักร้อง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2479 - 2485
ผลงานเด่นเรืออากาศเอก จำรัส เยี่ยมพะโยม (เพลงหวานใจ )
สังกัดบริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง จำกัด

ดาวรุ่ง

แก้

พระเอกรูปร่างหน้าตาหล่อคมสัน ท่าทางสุภาพคมคาย เสียง "เทเนอร์" แท้ กังวานไพเราะ มีเสน่ห์ [1]

ปรากฏตัวครั้งแรกในฐานะผู้ร่วมแสดงใน เลือดชาวนา ฉายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2479 ซึ่งได้ขับร้องเพลงประกอบเรื่องที่ได้รับความนิยมแพร่หลายชื่อ "ตะวันยอแสง" (ดูซิดูโน่นซี สุริศรีย์กำลังยอแสง...) [2]

พระเอกชั้นนำ

แก้

จากแววดาราและการต้อนรับอย่างดีของผู้ชม ศรีกรุงจึงให้นำแสดงเรื่อง กลัวเมีย พ.ศ. 2479 คู่กับ มานี สุมนนัฎ นางเอกชื่อดังในสังกัดเดียวกัน ภาพยนตร์สร้างชื่อและทำรายได้ดีอีกเช่นเคย มีสิทธิ์นั่ง เก้าอี้พิเศษ แบบฮอลลีวู้ดในฐานะดาราชั้นนำอย่างแท้จริง ความโด่งดังถึงขั้นบางคราวต้องหนีแฟน ๆ สาวหลากหลายวัยที่มาดักรอหน้าสถานีวิทยุกันอย่างคับคั่ง ออกทางหลังห้องส่ง [3]

ผลงานที่สร้างชื่อสูงสุดของสองดาราคู่ขวัญ "มานี - จำรัส" คือการได้นำแสดงนำร่วมกันอีกครั้งในหนังเพลงระดับซูเปอร์ทุนมโหฬาร เพลงหวานใจ ฉายเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2480 ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม และเป็น "หนังทำเงิน" สูงมาก ทางศรีกรุงจึงได้ซื้อรถสปอร์ตจีเอ็มสีแดงหรูโก้เก๋ที่สุดในยุคนั้น แถมให้เป็นสินน้ำใจด้วย (ภายหลังมีข่าวใหญ่บนหน้าหนังสือพิมพ์ เรื่องจำรัส สุวคนธ์ขับรถสปอร์ตงามหรูพาเพื่อนไปประสบอุบัติเหตุตกข้างสะพานไม้สูงชันข้ามคลองพระโขนง)

ช่วงหลัง

แก้

หลังจากนำแสดงอีกสามเรื่องจนถึง น้ำท่วมดีกว่าฝนแล้ง พ.ศ. 2485 ศรีกรุงจำเป็นต้องปิดกิจการเนื่องจากน้ำท่วมใหญ่และภาวะสงครามทำให้ขาดแคลนฟิล์ม ชื่อเสียงความเป็นดาราชั้นนำเริ่มจางลง ก่อนถึงแก่กรรม เคยรับเชิญในรายการเพลงทางไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม

ในปี 2485 มีคนพบศพในรถที่วิ่งเข้าชนตอสะพานย่านพระโขนงเป็นอันจบชีวิตนักแสดงที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของไทย

ชีวิตส่วนตัว

แก้

มีครอบครัวไม่เปิดเผยและบุตรชาย 1 คน

เกียรติประวัติ

แก้
  • เก้าอี้พิเศษ "ดาราชั้นนำของศรีกรุง"
  • ปัจจุบันได้รับการกล่าวถึงในฐานะดาราคู่ขวัญ "มานี - จำรัส " คู่แรกของวงการภาพยนตร์ไทย

ผลงาน [4]

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. กาญจนาคพันธุ์, ยุคเพลงหนังและละครในอดีต, เรืองศิลป์ 2518 หน้า 89-90,159
  2. กาญจนาคพันธุ์ หน้า 118
  3. จมื่นมานิตย์นเรศ, เล่าเรื่องวิทยุกระจายเสียงใน อนุสสรณ์ศุกรหัศน์ หน้า 248 และคำบรรยายภาพประกอบ ยุคเพลงหนังและละครในอดีต 2518
  4. กระทู้เกี่ยวกับจำรัส สุวคนธ์ ,thaifilm.com