คิโนะคูนิยะ
ร้านหนังสือคิโนะคูนิยะ (ญี่ปุ่น: 紀伊國屋書店; โรมาจิ: Kinokuniya Shoten; ราชบัณฑิตยสภา: คิโนกูนิยะ โชเต็ง) คือร้านหนังสือสัญชาติญี่ปุ่น ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) โดยโมอิจิ ทานาเบะ เริ่มแรกทำธุรกิจเกี่ยวกับ ขายถ่านและไม้ เพื่อเป็นเชื้อเพลิง คิโนะคูนิยะได้ผันตัวเองมาเป็นร้านหนังสือ ที่มีสาขาทั่วประเทศญี่ปุ่นกว่า 72 สาขา และ 30 สาขาทั่วโลก โดยสาขาแรกตั้งอยู่ที่เขตชินจูกุ โตเกียว
สำนักงานใหญ่คิโนะคูนิยะที่เขตชิบูยะ | |
ประเภท | บริษัทร่วมทุน (ญี่ปุ่น) |
---|---|
อุตสาหกรรม | ร้านหนังสือ |
ก่อตั้ง | 22 มกราคม พ.ศ. 2470 |
ผู้ก่อตั้ง | โมอิจิ ทานาเบะ |
สำนักงานใหญ่ | |
จำนวนที่ตั้ง | 14,011 (2017) |
พื้นที่ให้บริการ | ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ออสเตรเลีย ไต้หวัน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ |
พนักงาน | 4,000 |
เว็บไซต์ | www www singapore malaysia thailand australia taiwan uae |
ประวัติ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สาขา
แก้นอกประเทศญี่ปุ่น
แก้ในปัจจุบันคิโนะคูนิยะมีสาขานอกประเทศญี่ปุ่นจำนวนทั้งหมด 25 สาขา ได้แก่ [1]
- สหรัฐอเมริกา
- ซานฟรานซิสโก
- แซนโฮเซ
- ซีแอตเทิล
- ลอสแอนเจลิส
- คอสตาเมซา
- พอร์ตแลนด์
- สำนักงานใหญ่นิวยอร์ก
- พาลีเซดส์เซ็นเตอร์ นิวยอร์ก
- สิงคโปร์
- สำนักงานใหญ่สิงคโปร์
- เหลียงคอร์ท
- บูกิส
- จูร่ง
- อินโดนีเซีย
- จาการ์ตา
- Pondok Indah
- แกรนด์อินโดนีเซีย
- มาเลเซีย
- ไทย
- กรุงเทพ (เซ็นทรัลเวิลด์) - เปิด 2535
- สุขุมวิท (เอ็มควอเทียร์) -เปิด 2558 (ย้ายจากฝั่งเอ็มโพเรียม - เปิด 2540)
- สยามพารากอน เปิด 2548
- ออสเตรเลีย
- ไต้หวัน
- ไทเปเทียนมู่ทะกะชิมะยะ
- ไทเปบรีซ
- ฮันชิน
- ฮันชินอารีน่า
- โซโก้
- สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- ดูไบมอลล์ (2551)
คิโนะคูนิยะในประเทศไทย
แก้ร้านหนังสือคิโนะคูนิยะได้เปิดให้บริการในประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2535 บริหารงานโดย บริษัท คิโนะคูนิยะ บุ๊คสโตร์ (ประเทศไทย) จำกัด สาขาแรกตั้งอยู่ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ (เดิมคือ เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์) ซึ่งเปิดพร้อมกับห้างสรรพสินค้าอิเซตัน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ทางคิโนะคูนิยะได้ขยายสาขาที่ 2 ตั้งอยู่ที่ศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม กลุ่มเป้าหมายที่อยู่อาศัยชาวญี่ปุ่น และในปี พ.ศ. 2548 เปิดสาขาที่ 3 ศูนย์การค้าสยามพารากอน เป็นสาขาแรกที่มีร้านกาแฟ มุมแสดงผลงานศิลปะ และหนังสือภาษาจีน จะไม่มีหนังสือภาษาญี่ปุ่น โดยสาขานี้เน้นกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวชาวจีน ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 สาขาที่ 2 ย้ายมายังศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์
ในปี พ.ศ. 2563 ทางห้างสรรพสินค้าอิเซตัน ปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม เป็นต้นไป เนื่องจากสิ้นสุดสัญญาเช่าพื้นที่กับเซ็นทรัลพัฒนา ทางร้านหนังสือคิโนะคูนิยะสาขาแรกได้ย้ายร้านมาอยู่ที่ชั้น 5 ในส่วนศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โซนซี เป็นการชั่วคราว[2]
ร้านคิโนะคูนิยะ สาขาเซ็นทรัลเวิลด์ ได้ย้ายกลับมาบริเวณใกล้เคียงที่ตั้งเดิม ในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งตรงกับวาระครบรอบ 30 ปี การดำเนินธุรกิจในประเทศไทย โดยแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ โซนหนังสือและของสะสมเกี่ยวกับการ์ตูนและเกม เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 12 เมษายน[3] และโซนหนังสือทั่วไปพร้อมร้านกาแฟ ซึ่งเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม[4] ปีถัดมาสาขาสยามพารากอนได้ดำเนินการปรับปรุงครั้งใหญ่ โดยยังเปิดดำเนินการตามปกติ ทั้งนี้ ส่วนที่ปรับปรุงใหม่เปิดให้บริการเฟสแรกในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566[5] และเปิดให้บริการโฉมใหม่อย่างเต็มรูปแบบในเดือนถัดมา[6]
โลโก้
แก้คำว่า คิโนะคูนิยะ แปลว่า ร้านหนังสือแห่งแคว้นคิอิ ซึ่งอยู่ใกล้กับจังหวัดโอซากะ
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.kinokuniya.co.jp/06f/d01/network5.html เก็บถาวร 2010-07-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 事業所一覧 【海外店舗】
- ↑ "คิโนะคูนิยะที่เซ็นทรัลเวิลด์ยังเปิดนะ คิดถึง! อยากเจอ มาหาหน่อย!". สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน พ.ศ. 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พาส่อง Kinokuniya โซนใหม่ แหล่งหนังสือการ์ตูนภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น ไทย ใน CentralwOrld". Mango Zero. 2022-04-12.
- ↑ "Kinokuniya เปิดสาขาใหม่ เซ็นทรัลเวิลด์ ดีไซน์จากผ้าไทย เปิดมุมอ่านหนังสือ จิบกาแฟ". SARAKADEE LITE.
- ↑ "Kinokuniya bookstore : Siam Paragon branch We are open as usual. - Books Kinokuniya Webstore Thailand". thailand.kinokuniya.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-17. สืบค้นเมื่อ 2023-11-17.
- ↑ Kinokuniya bookstore : Siam Paragon branch GRAND REOPENING.[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการ (ญี่ปุ่น)
- เว็บไซต์ทางการ (ไทย)