ครู
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ครู คือ ผู้ที่มีความสามารถให้คำแนะนำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน หรือ นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน มีหน้าที่ หรือมีอาชีพในการสอนกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่าน รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน โดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน และนอกจากการสอนแล้วครูยังเป็นผู้ยกระดับวิญญาณมนุษย์ ให้รู้จักผิดชอบชั่วดี สอนในคุณงามความดีเพื่อเป็นแม่แบบให้เด็กได้ปฏิบัติตามทั้งต่อหน้าและลับหลัง
ภาพถ่ายนิสิตฝึกสอน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในอดีต | |
อาชีพ | |
---|---|
ชื่อ | ครู อาจารย์ |
ประเภทอาชีพ | อาชีพเฉพาะทาง |
กลุ่มงาน | การศึกษา |
รายละเอียด | |
ความสามารถ | จิตวิทยาการศึกษา ปรัชญาการสอน ความรู้ในสาขาวิชาที่สอน |
สถานที่ ปฏิบัติงาน | สถาบันการศึกษา |
อาชีพที่เกี่ยวข้อง | อาจารย์มหาวิทยาลัย, นักวิชาการ, ติวเตอร์ |
คำว่า "ครู" มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต "คุรุ" และภาษาบาลี "ครุ, คุรุ"
ครูในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา
แก้ครูประจำการ
แก้ครูประจำการ หมายถึง ข้าราชการครูผู้ดูแลนักเรียนในห้องเรียนหรือชั้นเรียนหนึ่ง ๆ เป็นเวลาหนึ่งภาคเรียนหรือหนึ่งปีการศึกษา พร้อมทั้งทำหน้าที่ธุรการประจำห้องเรียน ในโรงเรียนของรัฐบาล
ในอดีตความสัมพันธ์ของครูประจำชั้นจะเปรียบเสมือนผู้ปกครองคนที่สอง ต้องคอยดูแลเอาใจใส่ อบรมสั่งสอน ช่วยแก้ปัญหา และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับบ้าน อันเป็นผลทำให้ครูและโรงเรียนได้รับความศรัทธาพร้อมทั้งมีบุญคุณต่อนักเรียนและครอบครัว
ระบบการศึกษาส่วนใหญ่ในโรงเรียนทั่วโลกมีการนักเรียนออกเป็นชั้น ๆ เป็นห้อง ๆ เพื่อความสะดวกต่อการเรียนการสอน และการดูแลปกครอง รวมทั้งทำกิจกรรมอื่น ๆ โดยเรียกเรียกว่า "ห้องเรียน" หรือ "ชั้นเรียน" (Classroom) และเรียกเพื่อนร่วมชั้นเรียนเดียวกันว่า "เพื่อนร่วมชั้น" (Classmates)
ครูในระดับอุดมศึกษา
แก้ผู้สอนในวิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือระดับอุดมศึกษา จะมีตำแหน่ง อาจารย์ โดยอาจารย์ที่ได้รับตำแหน่งทางวิชาการ ได้แก่ อาจารย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ตามลำดับ การได้รับตำแหน่งทางวิชาการเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
ตำแหน่งครู คือบุคคลที่ทำหน้าที่ช่วยสอน สอนทบทวน สอนภาคปฏิบัติ แตกต่างจากอาจารย์ที่ สอนภาคบรรยายเรื่องต่าง ๆ
ครูในระดับอาชีวศึกษา
แก้ผู้สอนในวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยการอาชีพ วิทยาลัยเกษตร จะมีตำแหน่ง ครู โดยครูที่ได้รับตำแหน่งทางวิชาการ ได้แก่ ครู, ครูผู้ช่วย, ครูปฏิบัติการ, ครูชำนาญการ, ครูชำนาญการพิเศษ , ครูเชี่ยวชาญ ตามลำดับ การได้รับตำแหน่งทางวิชาการเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา
ครูผู้ดูแลระบบจัดการโรงเรียน
แก้ครูที่ทำหน้าที่ดูแลระบบทั้งโรงเรียนจะเรียกว่า ครูใหญ่ ซึ่งคล้ายคลึงกับคณบดี หรืออธิการบดี ในระดับอุดมศึกษา โดยหน้าที่ของครูใหญ่มักจะทำหน้าที่ดูแลระบบการจัดการของโรงเรียนมากกว่าการสอนในห้องเรียน ต่อมาเป็นตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ทำหน้าที่บริหารสถานศึกษา
ครูในศตวรรษที่ 21
แก้ในยุคศตวรรษที่ 21 นี้ กระบวนการเรียนอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก [1] ผู้เรียนจะเรียนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยมีความก้าวหน้า และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มากและรวดเร็วขึ้น ปัญหาที่สืบเนื่องมาจากจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นต่อห้องเรียน[2] จนทำให้วิธีการสอนแบบเดิมๆ ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ สื่อที่แสดงมีขนาดใหญ่ไม่เพียงพอสำหรับ ผู้เรียนที่อยู่หลังห้อง ความจดจ่อกับผู้สอนถูกเบี่ยงเบนจากพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนขนาดใหญ่ ผู้เรียนมีการนำเอาคอมพิวเตอร์พกพาเข้ามาสืบค้นความรู้ในชั้นเรียน ผู้เรียนถามคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่ครูกำลังสอน หรือนำข้อมูลเหล่านั้นมาพูดคุย โดยที่ครูตอบไม่ได้ หรือไม่เคยรู้มาก่อน
เมื่อเป็นเช่นนี้ ครูจึงต้องพร้อมที่จะปรับตัวและพัฒนาตนเองให้ทันยุคที่เปลี่ยนไป และต้องไม่ขาดความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาทักษะและวิทยาการให้ทันสมัย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เทคนิควิธีการเรียนการสอนแบบใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ได้เด็กมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สังคมไทยและสังคมโลกต้องการ
ในการนี้ กระทรวงศึกษาธิการ[3] ได้เล็งเห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communications Technology :ICT) มาใช้ในการศึกษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพทางการศึกษา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนและการพัฒนาครูได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอน ตลอดจนลดความไม่เท่าเทียมทางการศึกษาในโรงเรียนที่ห่างไกลอีกด้วย
อ้างอิง
แก้- ↑ กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). ศธ.จี้ครูปรับบทบาทใหม่ทันกับเทคโนโลยีสอนเด็ก. สืบค้นออนไลน์ จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=34113&Key=hotnews
- ↑ สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. 2553. การเปลี่ยนแปลงโลกของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาสู่ “ครูมืออาชีพ” ใน สุดาพร ลักษณียนาวิน (บรรณาธิการ). 2553. การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กร อุดมศึกษาแห่งประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวง ศึกษาธิการ.
- ↑ ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 275/2556. (2556). รมว.ศธ.เปิดการเสวนา ICT เพื่อปฏิรูปการเรียนการสอน. สืบค้นออนไลน์ จาก http://www.moe.go.th/websm/2013/aug/275.html