'''อ็อทโท ฮาน''' ({{lang-langx|de|Otto Hahn}}) เป็นนักเคมีชาวเยอรมัน เขาเป็นผู้บุกเบิกสาขา[[การสลายให้กัมมันตรังสี|กัมมันตภาพรังสี]]และรังสีเคมี และได้รับการยอมรับนับถือเป็น "บิดาแห่ง[[เคมีนิวเคลียร์]]"<ref>Seaborg, Glenn T. (1966) Introduction to ''Otto Hahn – A Scientific Autobiography.'' Charles Scribner's sons, New York.</ref> เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี ค.ศ. 1944 สำหรับผลงานการค้นพบข้อพิสูจน์การมีอยู่ของ[[การแบ่งแยกนิวเคลียส|ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน]]<ref name=Nobel1944>{{cite web |title=The Nobel Prize in Chemistry 1944 |publisher=[[Nobel Foundation]] |url=http://nobelprize.org/nobel_prizes/chemistry/laureates/1944/index.html |accessdate=17 December 2007}}</ref><ref>{{cite book |author=Bernstein, Jeremy |title=Hitler's uranium club: the secret recordings at Farm Hall |publisher=Copernicus |location=New York |year=2001 |pages= |isbn=0-387-95089-3 |oclc= |doi= |page=281}}</ref>
ฮานเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ระดับหัวกะทิของเยอรมันเยอรมนีเพียงไม่กี่คนที่ยืนอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับ[[ระบอบนาซี]]และ[[การต่อต้านยิว]] หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ฮานเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์หัวกะทิทั้งเก้าของเยอรมันเยอรมนีที่ถูกควบคุมตัวไปอังกฤษ เมื่อฮานและนักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ ได้เห็นผลของ[[การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ]] เขาก็ผันตัวเป็นแกนนำการรณรงค์ต่อต้านการใช้นิวเคลียร์เป็นอาวุธ<ref name=recollections>[[Lise Meitner]] – ''Recollections of Otto Hahn''. Edited by Dietrich Hahn. Verlag S. Hirzel, Stuttgart 2005.</ref> ฮานถูกส่งตัวกลับไปเยอรมนีตะวันตกในปี ค.ศ. 1946 และกลายเป็นผู้ก่อตั้งและประธานคนแรกของ[[สมาคมมักซ์พลังค์]]